แคมเวิลด์เซอร์วิสรับตรวจเช็คอาการเสียของกล้องดิจิตอล
2.เมื่อเปลี่ยนการ์ดหรือแบตเตอร์รี่ หรือเลนส์ควรปิดกล้องก่อนเสมอ การถ่ายรูปปกติแล้วแฟลช ที่ติดอยู่ที่หัวกล้อง หรือแฟลชแยกแทบไม่มีผลเลยครับ ถ้ากรณีที่ถ่ายรูปในที่ที่แสงสว่างหรือจุดกำเนิดแสงเพียงพอครับ แต่จะมีผลตอนที่เวลาถ่ายที่ที่แสงไม่เพียงพอ หรือถ่ายเวลาเย็น หรือถ่ายใต้ร่มไม้ หรือถ่ายย้อนแสง เป็นต้นครับ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือจำเป็นต้องใช้แฟลชหัวกล้องหรือแฟลชแยก ก็อาจจะต้องศึกษานิดหนึ่งครับว่าแฟลชหัวกล้องให้ค่าแสงสว่าง หรือ มีระยะเท่าไร ซึ่งถ้าเป็นแฟลชหัวกล้องมีความสามารถจะน้อยกว่าแฟลชแยกแน่นอนครับ เวลาไหนที่ควรใช้แฟลช ก็น่าจะเป็นการถ่ายที่แสงสว่างไม่พอ อาจจะเป็นช่วงตอนเย็น หรืออยู่ในจุดที่แสงไม่ค่อยสว่าง และควรหาระยะแฟลชกับแบบ เพราะถ้าใช้แฟลชแล้วใช้ระยะใกล้กับแบบเกินไป แบบที่ได้อาจจะสว่างเกินไป และรูปที่ถ่ายมานั้นไม่สวยครับ วิธีวัดระยะของแฟลช คือ ถ้าเป็นแฟลชหัวกล้อง จะมีระยะไม่เกิน 2 m – 3 m ครับ ถ้าอยู่ในช่วงนี้จะโอเคครับส่วน ถ้าเป็นแฟลชแยกจะอธิบายในบทความต่อไป และจะอธิบายการทำงานของแฟลชให้ลึกซึ่งกว่านี้ครับ แฟลชหรือจุดกำเนิดแสงนั้นมีที่มาโดยแบ่งเป็น 3 ประเภท โดยมีวิวัฒนาการโดยเรียงลำดับตามนี้ครับ 1. แฟลชระบบแมนนวล ( Manual ) : : ซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ตอนแรก หรือถูกพัฒนามาก่อนที่มีกล้องแบบฟิลม์ จนถึงรุ่น
ที่กล้องฟิลม์ใช้งานกัน แต่แบบนี้ก็มีข้อเสีย คือ ต้องมานั่งคำนวณแสง คำนวณระยะ คำนวณ F ซึ่งยุ่งยากพอสมควรกว่าจะได้แสง
ที่โอเค 2. แฟลชระบบออโต้ ( Auto ) : : ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาต่อมาจากระบบแมนนวล ซึ่งมีการเปลี่ยนระบบเซนเซอร์จากปกติอยู่ที่แฟลช ก็เปลี่ยนมาที่กล้องแทนซึ่งเวลา ยิงแสงไปที่วัตถุแล้วแสงที่สะท้อนกลับมายังหน้ากล้องจะถูกเซนเซอร์จะตัดแสงทันที ซึ่งทำให้เรา
ถ่ายรูปได้รวดเร็วไม่ต้องคำนวณค่าต่าง ๆ เหมือนกับ ระบบเดิม แต่ยังมีข้อเสีย หรือ ข้อระวังในเรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมแล้วจะทำ
ให้เสียแสง ส่วน อุปกรณ์อะไรนั้นที่ทำให้เสียแสง เดียวจะอธิบายในหมายเหตุครับ ** 3. แฟลชระบบ TTL ( Through the lens ) : : ซึ่งเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นจนเป็นต้นแบบของกล้องดิจจิตอลเกือบทุกตัวในปัจจุบัน
และไม่ต้องกังวลเรื่องอุปกรณ์เสริมที่ทำให้เสียแสงครับ ** 4. แฟลชระบบ IF ( Intelligent flash ) : : เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าระบบ TTL ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ทำงานสัมพันธ์กับปริมาณแสง
ที่สะท้อนผ่านเลนส์ โดยก่อนที่ม่านชัตเตอร์จะทำงานแฟลชจะทำงานล่วงหน้า 1 ครั้ง โดยจะมีเซนเซอร์อยู่หน้ากล้องเหมือนกับ
TTL คอยตรวจจับแสงที่ผ่านเลนส์เข้ามาสะท้อนกับกระจกสะท้อนภาพและจะส่งข้อมูลไปยังแฟลช เพื่อให้คำนวณแสงที่จะยิง
ไปยังวัตถุได้อย่างเหมาะสม 5. แฟลชระบบ ADI ( Advanced Distance Integration ) : : ระบบนี้เป็นระบบที่แก้ไขจุดผิดพลาดของ IF ซึ่งระบบใหม่นี้จะ
คำนึกถึงปริมาณแสงที่จุดโฟกัส ซึ่งต่างกับระบบ IF ที่คำนวณแต่ว่า ภาพที่สะท้อนจากวัตถุเข้ามาที่กล้อง เป็นอย่างไร มีประมาณ
แสงสะท้อนเข้ามามากหรือน้อย แฟลชก็จะคำนวณจากตรงนี้ทำให้แฟลชที่ยิงออกไป น้อยบ้าง มากบ้างไปซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น การใช้งานแฟลช ไม่ว่าจะเป็นรุ่นอะไร หรือระบบอะไร เราควรจะศึกษาให้ละเอียดมากกว่านี้เพื่อรู้ข้อดี ข้อด้อยหรือจุดที่มันทำงานได้สูงสุด เท่านี้เวลาเราใช้ ก็ถือว่าเราใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และทำให้ภาพที่ออกมาสวยงามตามที่ใจเราต้องการครับ หมายเหตุ ** การเสียแสง น่าจะมีจากกรณี การเบ๊านซ์ (bounce) เพดานหรือใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริมบางประเภทที่มีการเสียแสง เช่น
ทิวป์ (tube) หรือ เทเลคอนเวนเตอร์ (teleconverter) ก็ต้องมาคอยคำนวณช่องรับแสงใหม่อยู่เสมอ ประเภทของการใช้แฟลช มีหลายแบบ ดังต่อไปนี้ครับ
1. การเบ๊านซ์แฟลช ( Bounce Flash ) การใช้ในลักษณะนี้ต้องใช้กับแฟลชแยกเท่านั้นครับ และโดยส่วนมากจะนิยมใช้เบ๊านซ์
กับเพดานลงมา โดยยิงแฟลชขึ้นไปที่เพดานและให้สะท้อนลงมายังแบบหรือวัตถุที่เตรียมไว้ แต่ถ้าใช้แฟลช TTL ไม่ต้อง
คำนวณระยะทางที่แฟลชวิ่งขึ้นไปกระทบแล้วลงมาที่แบบ ให้คำนวณ จากแบบมาที่หน้ากล้องเลยครับ 2. การใช้แสงแฟลชผสมธรรมชาติ ( Fill in Flash ) ปกติแล้วการใช้แฟลชจะใช้ในตอนที่ไม่มีแสง แต่ในลักษณะนี้ จะเป็น
การใช้งานผสมผสานกันระหว่างแสงอ่อนของธรรมชาติ กับแฟลชเราใช้ในกรณีที่อยู่ใต้ร่มไม้ใช้ ลบเงาดำใต้ตาของแบบเป็นต้นครับ 3. การใช้แฟลชเมื่อถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งเป็นการเปิดแฟลชเพื่อไม่ให้แบบดำครับ เพื่อให้สว่างขึ้น และถ้าปรับ ISO เป็น 400 แน่นอนครับว่า ความไวแสงมากว่า ISO 100 ถึง 2 ขั้น( stop ) ระยะทางแฟลช และ
ค่า GN แฟลชที่ ISO 400 ย่อมมากว่าธรรมดา แต่ไม่ใช้การคูณ แบบ ทวิ หรือ คูณ 2 นะครับ แต่ต้องเป็น
คูนด้วย สแควร์รูท ของ 2 หรือ 1.414 โดยประมาณครับ
เช่น GN ที่ ISO 100 54 ของแฟลช 540 EZ
—–ถ้าเป็น ISO 200 จะเป็น
54 * สแควร์รูท ของ 2 ( 1.414 ) = 76.356 โดยประมาณ
—–ถ้าเป็น ISO 400 จะเป็น
76.356 * ( 1.414 ) = 107.96 โดยประมาณครับ ถ้าพูดถึงสิ่งที่กล้องกลัวมากที่สุดคือเจ้าเชื้อรา ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี ยิ่งอากาศที่เย็นๆ ไม่ถ่ายเท สถานที่ที่มีความชื้นสูง เช่นตู้เสื้อผ้า-ตู้ไม้ สิ่งเหล่านี้คือจุดที่จะทำให้เกิดเชื้อราได้ง่ายเลยครับ ดังนั้นถ้าไม่ต้องการให้เชื้อรามาเยือน ก็ควรหาที่เก็บอุปกรณ์เหล่านี้ไว้ที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่ควรเก็บกล้องไว้ในกระเป๋าตลอดเวลา ควรต้องนำออกมาวางรับอากาศข้างนอกด้วยครับ ซิลิก้าเจลคือ สารดูดความชื้นประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการรักษาสภาพของสิ่งต่างๆไม่ให้เกิดความชื้น โดยทั่วไปแล้วจะใช้ประเภทที่มีสีน้ำเงิน ซึ่งเมื่อดูดซับความชื้นแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีชมพู และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการนำไปผ่านความร้อนเพื่อไล่ความชื้นออกไปครับ หลังจากนำกล้องไปใช้งานแล้ว ควรที่จะทำความสะอาดทุกครั้งก่อนที่จะเก็บในกระเป๋ากล้องหรือตู้เก็บความชื้น เพราะการที่มีสิ่งสกปรกค้าอยู่ อาจจะทำให้กล้องนั้นเกิดรอยสนิมหรือตำหนิได้ หากท่านใดมีงบประมาณจำกัดก็สามารถหาซื้อกล่องหรือถุงดูดความชื้นได้ตามห้างสรรพสินค้า โซนเครื่องใช้ในครัวแทนได้ครับ เพราะสามารถใช้แทนตู้ดูดความชื้นได้ วิธีใช้ก็เก็บกล้องในกล่อง / ถุงดูดความชื้นพร้อมกับซิลิก้าเจล สำหรับกระเป๋ากล้อง มีอยู่หลายยี่ห้อครับที่ผลิตออกมามีคุณภาพดี และสามารถกันน้ำ-กันฝนได้ครับ บางรุ่นจะใช้ตัวผ้าที่สามารถกันน้ำได้ดี เช่นน้ำหกใส่ น้ำกระเด็น ในส่วนบางรุ่นจะออกแบบมาเป็นผ้าร่มพับเก็บไว้ในตัวสามารถนำออกมาคลุมปิดตัวกระเป๋าได้ทั้งใบ ซึ่งเรื่องกระเป๋ากล้องถือเป็นสิ่งสำคัญพอๆ กับตัวกล้องเลยทีเดียวนะครับ ขอบอก
• แนะนำอุปกรณ์สามชิ้นที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อภาพที่คมชัด แนะนำอุปกรณ์สามชิ้นที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อภาพที่คมชัด การถ่ายภาพใต้สภาพแสงน้อยจำเป็นต้องใช้ค่าความไว ชัตเตอร์ต่ำดังนั้นขาตั้งกล้องจึงมีความสำคัญหากคุณต้องการให้ภาพถ่ายยามค่ำคืนของคุณมีความคมชัด ให้คุณเลือกซื้อขาตั้งที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะจ่ายได้ ระบบตั้งเวลาในกล้องของคุณอาจจะเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆไป (เพื่อลดการสั่นไหว หรือก่อให้เกิดความเบลอ) แต่สายลั่นชัตเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการบันทึกค่าการเปิดรับแสงที่ยาวนานของเส้นไฟจราจร เลนส์ฮูดจะช่วยลดแสงแฟลชที่เกิดจากแสงสว่างจากด้านข้างที่ตกลงสู่เซ็นเซอร์โดยที่คุณไม่ต้องการ แต่ในการถ่ายภาพในฤดูฝนมันยังช่วยป้องกันไม่ให้ละอองฝนตกลงบนหน้าเลนส์ของคุณได้เช่นกัน SD CARD ผมเชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักชื่อนี้แน่นอน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เลย กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยเฉพาะ สมาร์ทโฟน ที่ทุกคนต้องมีไม่ว่าจะเด็กเล็กจนถึงผู้สูงวัย และรองลงมาแต่ขาดอุปกรณ์ SD Card ไม่ได้ก็คือ กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอ เป็นต้น แน่นอนผมจะเขียนบทความเกี่ยวกับการเลือกซื้อ SD CARD ให้เหมาะกับการใช้งาน ในรูปแบบต่างๆ จะได้ไม่เสียเวลาเสียเงิน เพิ่มนะครับ ปัจจุบัญ SD CARD จะมีสองขนาด ขนาดมาตรฐาน และขนาดจิ๋วที่มีชื่อว่า Micro SD CARD และแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ SD CARD, SDCH CARD, SDXC CARD แต่ละแบบจะมีความจุที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ส่วน SDXC CARD ขนาดมาตรฐาน เหมาะสำหรับกล้องDSLR กล้องวีดีโอ เพราะการบันทึกวีดีโอ HD ต้องใช้หน่วยความจำสูงมาก และกล้องรุ่นใหม่ๆ ที่สเปครองรับตัว SDXC ด้วย สังเกตุก่อนที่จะซื้อสินค้าด้วยนะครับว่ากล้องตัวที่ท่านมีรองรับ SDXC CARD หรือป่าว ส่วน SD ขนาดจิ๋วหรือ Micro SD CARD สามารถใช้กับอุปกรณ์จำพวก สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้อง Compact บางตัวได้ และ Micro SD CARD สามารถเสียบกับ Micro SD Adaptor ที่แถมมาพร้อมกับ Micro SD CARD ก็จะมีขนาดเป็นแบบขนาดมาตรฐาน สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์พวก กล้องดิจิตอล, กล้องวีดีโอ, กล้อง DSLR ได้แบบปกติเลยนะครับ ยังไม่หมดนะครับในแต่ละการ์ด ก็จะมี Class Speed ให้เลือกด้วย คือความเร็วในการอ่านข้อมูล โดยความเร็วการ์ดในการอ่านข้อมูลมีหลาย Class Speed ให้เลือก ที่มีขายทั่วไปคือ Class 2,4,6,10 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเลือก Class ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเราด้วย เช่น Class 2 มีความเร็วในการอ่านข้อมูลขั้นต่ำที่ 2MB ต่อวินาที เหมาะสำหรับ เก็บข้อมูล รูปภาพ ฟังเพลง วีดีโอที่ความคมชัดระดับพื้นฐาน Class 4 มีความเร็วในการอ่านข้อมูลขั้นต่ำที่ 4MB ต่อวินาที เหมาะสำหรับ เก็บข้อมูล รูปภาพ ฟังเพลง วีดีโอที่ความคมชัดระดับพื้นฐาน ถึงระดับความคมชัดที่ HD720p Class 6 มีความเร็วในการอ่านข้อมูลขั้นต่ำที่ 6MB ต่อวินาที เหมาะสำหรับ เก็บข้อมูล รูปภาพระดับDSLR ฟังเพลงวีดีโอที่ความคมชัดระดับพื้นฐาน ถึงระดับความคมชัดที่ HD1080p Class 10 มีความเร็วในการอ่านข้อมูลขั้นต่ำที่ 10MB ต่อวินาที เหมาะสำหรับ เก็บข้อมูล รูปภาพระดับDSLR ฟังเพลง วีดีโอที่ความคมชัดระดับพื้นฐาน ถึงระดับความคมชัดที่ HD1080p Class 10 เหมาะกับสมาร์ทโฟนระดับสูง อย่างพวก Samsung Galaxy Note3, Galaxy S4, HTC ONE MAX และพวกมือถือสเปคสูงๆ กับพวกกล้องโปร DSLR และกล้องวิดีโอ ที่ใช้ Class 10 ได้ ส่วนการ์ดบางตัวที่หลัง Class 10 แล้วมีสัญลักษณ์ เลข 1 ในตัว U ด้วยนั้น เรียกว่า Class UHS-1 มีถึง UHS-3 (ย่อมาจาก Ultra-High Speed Bus 1 มีอัตราความเร็วอ่านเขียนข้อมูล สูงถึง 104MB/วินาที และ 300MB/วินาที) อ่านได้เร็วกว่า Class 10 ธรรมดา ใช้ได้กับ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอได้ทุกรุ่น แต่จะเหมาะสุดสำหรับการบันทึกวีดีโอแบบ Full 1080p HD และวิดีโอ 3 มิติ รวมถึงตากล้องมืออาชีพที่ต้องถ่ายภาพต่อเนื่อง คุณภาพของภาพสูง ซึ่งราคาการ์ดแพงกว่า Class 10 ธรรมดาด้วย หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชไม่มากก็น้อยกับทุกๆ ท่านนะครับ ผิดพลาดประการใดต้องขอโทษด้วยนะครับ การยกเลนส์ส่องไฟเป็นการตรวจเช็คสภาพของเลนส์โดยเฉพาะชิ้นเลนส์ด้านใน เช่น ดูว่าเนื้อเลนส์ด้านในมี ฝุ่น ฝ้า หรือเชื้อราหรือไม่เพื่อที่ว่าเราจะได้ทำการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้ทันเวลา เลนส์ Canon Olympus จะยกส่องได้เลย แต่เลนส์ Nikon หรือ Sony/Minolta ต้องดันเขี้ยวรูรับแสงที่ก้นเลนส์ค้างไว้ในขณะที่ตรวจเช็ค และเพื่อนๆก็ต้องถือเลนส์อย่างระมัดระวังนิดนึงนะคะ กล้องดิจิตอลมีความนิยมเพิ่มขึ้นทุกวันๆ หากไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับมันเลย อาจจะดูเชยไปหน่อยสำหรับยุคนี้ คนรุ่นใหม่หลายคนอาจจะเริ่มเล่นกล้องดิจิตอลโดยที่ไม่ได้เล่นกล้องฟีล์มมาก่อนด้วยซ้ำ การเลือกกล้องดิจิตอลโดยเฉพาะกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค อาจจะยากกว่าการเลือกกล้องฟิล์มหรือกล้อง Digital SLR (DSLR) เพราะรวมแทบทุกอย่างไว้ในตัว เลนส์ก็ถอดเปลี่ยนไม่ได้แลลกล้อง SLR ทั่วไป เป็นตัวถ่ายทอดรายละเอียด ความคมชัด ของภาพ ไปสู่เซ็นเซอร์รับภาพ (Image sensor) ในตัวกล้อง ซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญในการกำหนดคุณภาพของภาพที่ออกมา หรือพอเทียบได้กับฟิล์ม แถมยังมีแฟลชในตัวที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลายๆ คนรู้จักและคุ้นเคยกับกล้องดิจิตอลมากขึ้นนะครับ เล็กมาก ถึง ปานกลาง หลายระดับ หลายราคา (ปัจจุบันมีตั้งแต่ไม่ถึงหมื่นจนถึงสี่หมื่น ถ่ายภาพบุคคล เป็นต้น หรือ ให้ถูกใจช่างภาพขึ้นมาหน่อยก็จะมีโหมด A หรือ Av ผู้ใช้เลือกรูรับแสง กล้องจะเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ให้). โหมด S หรือ Tv (ผุู้ใช้เลือกความเร็วชัตเตอร์ กล้องเลือกรูรับแสงให้). และ โหมด M (manual คือ ต้องปรับเองทั้งสองค่า) ลูกล่นกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค จะว่าไปก็มีไม่น้อยทีเดียว ไม่ว่าจะระบบวัดแสงแบ่งพื้นที่ (multi-seqment), เฉลี่ยหนักกลาง (center-weiqhted), เฉพาะจุด (spot) เผลอๆ จะมี spot ตามกรอบโฟกัสอีกด้วย ระบบออโต้โฟกัส มีทั้งแบบทำงานครั้งเดียว หรือต่อเนื่อง และยังมีแมนนวลโฟกัสให้เลือกใช้อีกด้วย ในขณะที่กล้องคอมแพ็คใช้ฟิล์มทั่วไป แทบจะไม่ค่อยมีอะไรให้ปรับเลือกมากนัก ซึ่งเป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งสำหรับกล้อง คอมแพ็คใช้ฟิล์มทั่วไป คอมแพ็คใช้ฟิล์มทั่วไปกับกล้องดิจิตอลคอมแพ็คก็ว่าได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่ได้ยิน หลายคนบ่นว่ากล้องดิจิตอลใช้ยาก (การมีปุ่มให้ปรับเลือกเยอะ อาจจะไม่เป็นผลดีเสมอไป สำหรับคนไม่ได้เล่นกล้องจริงจัง) ปกติกล้องดิจิตอลคอมแพ็คจะมีแฟลชในตัว แต่กำลังไม่สูงนัก ดังนั้นรุ่นที่แพงขึ้นมาหน่อยจะมีแฟลชฮ็อทชู (hotshoe) ไว้เสียบแฟลชภายนอก กำลังแรงขึ้น ไว้เอาใจคนที่เล่นกล้องจริงจังด้วย ในแง่อุปกรณ์เสริมอื่นๆ อาจจะมีให้เลือกใช้ได้ด้วย เช่น เลนส์ Converter ฟิลเตอร์ เป็นต้น สำหรับกล้อง DSLR เหมือนกล้อง SLR ใช้ฟิล์มปกติแทบทุกอย่าง ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เสียบแฟลชภายนอก หรือใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ ได้ตามปกติ ภายนอกจะต่างไปบ้างก็ตรงที่มีจอแอลซีดี (LCD) อยู่ข้างหลัง และไม่ต้องมีมอเตอร์เลื่อนฟิล์ม ฝาหลังจึงไม่มี ส่ิงที่แตกต่างส่วนใหญ่จะเป็นเรื่ององศารับภาพที่ไม่เท่ากับกล้องฟิล์ม และจอ LCD ซึ่งเอาไว้ดูภาพหลังจากถ่ายแล้วเท่านั้น (review) นอกจากนี้ราคาตัวกล้อง DSLR ยังค่อนข้างแพงเมื่อเที่ยบกับตัวกล้อง SLR ใช้ฟิล์ม เซ็นเซอร์รับภาพ หรือ อิมเมจเซ็นเซอร์ (Image sensor) ทำหน้าที่เสมือนฟิล์ม ที่รับภาพมาจากเลนส์ ในขณะที่ฟิล์ม ภาพจะเกิดเป็นภาพแฝงในฟิล์ม หลังจากนำไปผ่านกระบวนการเคมีจึงจะออกมาเป็นภาพจริงได้ ในกรณีของเซ็นเซอร์รับภาพมันจะแปลงแสงที่รับมาให้ สุดท้ายออกมาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า หรือออกเป็นข้อมูลดิจิตลอได้นั่นเอง โดยอาศัยวงจรอิเล็กทรอนิคช่วย ภาพที่ออกมาจึงอยู่ในรูปอบบไฟล์ข้อมูลดิจิตอลที่จับต้องไม่ได้อย่างฟิล์ม มีข้อดีตรงที่เราสามารถโอนย้ายข้อมูลนี้ให้เหมือนต้นฉบับร้อยเปอร์เซ็นต์ได้ไม่จำกัดจำนวน และสามารถนำไฟล์ข้อมูลดิจิตอลนี้ไปใช้งานได้หลากหลายทางด้วย ขนาดภาพของไฟล์ข้อมูลที่ออกมา ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนพิกเซลของอิมเมจเซ็นเซอร์ด้วย หากจำนวนพิกเซลมาก ก็จะมีรายละเอียดของภาพมากขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค จะมีความละเอียดอยู่ในช่วง 3-4 ล้านพิกเซล แม้รายละเอียดจะสู้ฟิล์มไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเพียงพอในการอัดรูปขนาด 4x6 นิ้ว ถึง 8x10 นิ้ว ส่วนกล้อง DSLR จะอยู่ที่ 6-10 กว่าล้านพิกเซลก็มี
Post a Comment