เทคนิคการถ่ายวีดีโอ GoPro ที่จะช่วยให้วิดีโอของคุณโปรมากขึ้น!!!
เคยเป็นไหม รู้สึกเสีย self เวลาที่ถ่ายวิดีโอออกมาแล้วไม่สวยเหมือนคนอื่น อัตราส่วนไม่ได้ ถ่ายออกมาแล้วดูแข็งๆ ไม่สมูท ทั้งๆที่ก็ใช้กล้อง GoPro ถ่ายเหมือนกับคนอื่น บางครั้งใช้อุปกรณ์เสริมช่วย ไม่ว่าจะเป็นไฟเสริม ไมโครโฟนเสริม แต่ก็ไม่ช่วยให้วิดีโอดีขึ้นเท่าที่ควร เป็นเพราะอะไรกันเคยสงสัยบางหรือไม่ สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ หรือ ถ่ายมากี่ครั้งก็ไม่ดี บทความนี้จะมาแนะนำ 6 เทคนิคการถ่ายวีดีโอ GoPro ที่ช่วยทำให้คุณสามารถถ่ายวีดีโอออกมาได้โปรมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นเทคนิคง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ และ ช่วยให้วิดีโอของคุณเจ๋งขึ้นกว่าเดิม ไปอ่านบทความกันเลย!!!
เทคนิคนี้เป็นเทคนิคสำหรับสาย snap shot จังหวะที่เป็นธรรมชาติ จังหวะเผลอๆ การที่เราเปิดเสียงเอาไว้ บางครั้งก็ทำให้จังหวะนั้นเสียไป การที่เราปิดเสียงเอาไว้จะทำให้เราได้โมเมนต์ที่ดูเป็นธรรมชาติ เทคนิคนี้ทำให้เสียงไม่ไปเปลี่ยนพฤติกรรมของคนที่เราจะถ่าย อย่างเช่น เวลาที่เราจะถ่ายจังหวะการหัวเราะที่เป็นธรรมชาติ หากมีเสียงอาจจะทำให้คนถูกถ่ายรู้ตัว และ วิดีโอที่ได้ก็จะดูไม่เป็นธรรมชาติ หรือ เวลาประชุมทางการการมีเสียงกดอัดอาจจะทำให้เรากลายเป็นจุดสนใจขึ้นมาได้
หลายๆคนตกม้าตาย เพราะ เลือกระยะของภาพผิด จะถ่ายใกล้ๆแต่ดันเลือกเลนส์ระยะไกล การเลือกระยะ คุณสามารถทำการ fix ระยะที่ต้องการได้ แต่บางครั้งก็อยากได้มุมกว้างๆ บางครั้งก็อยากถ่ายระยะแคบๆ หากใครที่เป็นมือใหม่ควรจะต้องรู้ระยะพื้นฐานให้ดี เพื่อจะทำให้คุณสามารถถ่ายวิดีโอได้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
• (16 MM) ถือว่าเป็นระยะที่กว้างที่สุดสำหรับคนที่ต้องการเก็บบรรยากาศ เป็นเลนส์ที่ให้มุมโค้งเล็กน้อย เพื่อเก็บบรรยากาศ ทำให้เราสามารถเก็บรายละเอียดได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่คุณสามารถครอปรูปเป็นทรงปกติไปใช้ตัดต่อได้ เหมาะสำหรับการถ่าย บรรยากาศกว้างมากๆ เช่น วิว หรือ ถ่ายคนหมู่คณะ ให้ภาพที่มีมิติกว่าเลนส์อื่นๆ
• (16-34MM) ระยะที่กว้างรองลงมาจากระยะ Superview เป็นระยะที่จะเน้นซูมเข้ามามากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถโฟกัสคนที่อยู่กลางภาพได้ และ ก็ยังถ่ายวิวมุมกว้างได้อีกด้วย สำหรับคนที่ไม่ต้องการภาพที่มีมุมโค้งจนเกินไป หากนำไปถ่ายคน ถ้าวางขาถูกจุดก็จะทำให้ดูขายาวมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นเลนส์ระยะใกล้เคียงสายตาทำให้จัดองค์ประกอบได้ง่าย
• (19-39MM) เป็นระยะที่รองลงมาจาก Wide ให้ภาพที่เหมือนซูมเข้าไปตรงกลาง แต่ยังเก็บบรรยากาศรอบข้างได้บ้าง เหมาะสำหรับถ่าย ทั่วไปที่ไม่ต้องเน้นระยะมากนัก หรือ สิ่งที่ต้องการโฟกัสแต่ก็อยากเก็บบรรยากาศรอบๆด้วย
• (27MM) ให้ขอบเขตการมองเห็นเป็นระยะที่แคบที่สุด แต่มุมมองแคบที่ไม่แคบจนเกินไป เป็นมุมมองใหม่ที่มีในรุ่น GoPro 8 ขึ้นไป เหมาะสำหรับเน้นการซูมเข้าตรงกลางแล้วกดถ่าย เพื่อเน้นวัตถุ เช่น การถ่ายดอกไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น
เป็นเทคนิคในการทำให้วิดีโอช้าลง ด้วยการตั้งค่าในโหมด Slow motion ที่ช่วยให้วิดีโอดูมีลูกเล่นมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้วิดีโอมีหลายมิติมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะใช้วิดีโอ Slow motion ทั้งไฟล์ แต่อาจจะใช้บางช่วงที่ต้องการจะดึงความสนใจ เช่น หากถ่ายคน ก็อาจจะเป็นตอนสะบัดผม หากถ่ายวิว อาจจะเป็นตอนที่ลมพัดดอกไม้ปลิว เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังต้องดูเรื่องของเฟรมเรท (fps) เช่น 140 fps / 1 sec หมายความว่า ใน 1 วินาทีจะสามารถถ่ายภาพนิ่งได้ 140 ภาพ ยิ่งเฟรมเรทมค่าสูงๆ จะสามารถเก็บภาพได้ละเอียดกว่าเฟรมเรทต่ำๆ บางคนถ่ายสโลโมชั่นมาแต่ทำไมพอมาดูย้อนหลังแล้ว ทำไมไม่สโลซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเฟรมเรทนั้นเอง
จะตั้งค่าเฟรมเรทอย่างไรให้คุณภาพวิดีโอออกมาคุณภาพดี? – การทำวิดีโอสโลโมชั่น ยิ่งอยากให้วิดีโอสโลควรจะใช้เฟรมเรทน้อยๆ แต่หากเราไม่ต้องการลดเฟรมเรท ให้เราทำการลด speed ลงแทนจะทำให้วิดีโอออกมาสโลได้ แต่รู้หรือไม่ว่าหากเราลดสปีทมากไป จะทำให้วิดีโอของคุณออกมาติดขัด ไม่ลื่นไหล และ ดูไม่ธรรมชาติ ซึ่งการจะลดสปีทจะต้องดูเฟรมเรทบนtimeline ควบคู่ไปด้วย เพราะว่าเฟรทเรทที่ต่างกันก็จะมีค่าสปีทสูงสุดที่สามารถลดได้ ซึ่งไม่ควรลดเกินกว่าที่กำหนดไว้ เพื่อความธรรมชาติของวิดีโอ เช่น หากtimeline(เฟรมเรทของวิดีโอที่เรา Import เข้ามาในโปรแกรมตัดต่อ) อยู่ที่ 30fps และ เฟรมเรทตัดต่อ(เฟรมเรทที่เราต้องการตัดต่อวิดีโอ) อยู่ที่ 120 fps จะสามารถลดสปีทได้สูงสุด 25% ซึ่งจะทำให้วิดีโอออกมาสมูท เป็นธรรมชาติ ค่าของสปีทที่ลดได้สูงสุดมากจากการคำนวณ ดังต่อไปนี้
เทคนิคนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่หลายๆคนมองข้าม การจะให้ภาพ หรือ วิดีโอสวยงาม องค์ประกอบที่เหมาะสมนับว่าสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆเลย ซึ่งหลายๆคนมองว่ายาก วันนี้เลยจะขอแนะนำการจัดองค์ประกอบด้วยกฎ 3 ส่วน นั้นคือเวลาที่เราถ่ายรูปภาพให้เราแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน ทั้งส่วนของแนวตั้ง และ แนวนอน โดยให้เราแบ่งจุดโฟกัสหลักๆ ทั้งหมด 4 จุด ตามแนวจุดตัดของเส้น หากเราจะถ่ายภาพให้เรายึดจุดใดจุดหนึ่งของจุดตัด โดยให้เอาจุดที่เด่นที่สุดของภาพ ไว้ที่จุดตัด เพียงแค่นี้ก็จะทำให้คุณถ่ายวิดีโอออกมาได้สวยมากยิ่งขึ้น
• เลือกที่เมนู Grid ที่เป็นรูปตาราง อยู่แถวล่างอันแรก หากมองจากแนวตั้ง > กด on เพื่อเปิดการใช้งาน
เคยเป็นไหมเวลารูป ถ่ายวิดีโอออกมาแสงก็เยอะเกินไป ภาพขาวโอเวอร์ นอกจากการจัดองค์ประกอบแล้ว การจัดแสงยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ภาพสวยมากยิ่งขึ้น แต่หากถ่ายข้างนอกจะไปจัดแสงก็ไม่ได้ แต่เราสามารถตั้งค่าในโหมด Exposure ได้
การตั้งค่าโหมด Exposure ให้ทำการกดค้างที่หน้าจอ จากนั้นหน้าจอจะทำการขยาย โดยจะสามารถเลือกโหมดได้ 3 แบบ ด้วยการแตะที่หน้าจอเพื่อเปลี่ยนโหมด
• เป็นการตั้งค่าปกติของเครื่องโกโปร หากใครไม่อยากตั้งค่าเอง ก็ใช้เป็นโหมดนี้ ซึ่งเป็นโหมดปกติของตัวกล้อง โดยที่กล้องจะทำการเลือกแสงให้ บางครั้งอาจทำให้แสงโอเวอร์เกินไป หากใครที่ไม่ได้ซีเรียสเรื่องแสงมากสามารถใช้งานได้ แต่หากใครต้องการตั้งค่าก็สามารถเลือกล็อคแสงได้จากแบบ Spot Meter และ Locked Exposure
• การปรับแสงตามจุดที่เราเลือก เลือกจุดไหนจุดนั้นจะสว่าง ถ้าจุดสว่างนั้นสว่างก็จะมืดลง เหมาะสำหรับการถ่ายใต้เงา ที่แสงน้อย
• เป็นการล็อคแสงไม่ให้เปลี่ยนไป หากชอบแสงตรงไหนก็ทำการล็อคแสงนั้นเอาไว้ เหมาะสำหรับการถ่ายในร่มแล้วออกไปในที่แสงเยอะ
องค์ประกอบก็จัดแล้ว แสงก็จัดแล้ว แต่ทำไมรูปในวิดีโอออกมาไม่สวย คุณสามารถปรับให้วิดีโอของคุณสวยขึ้นได้ตามใจคุณด้วย Protune คือ การตั้งค่ารูปแบบของสี คุณภาพของภาพ ที่จะแสดงออกมา โดยเราการตั้งค่า Protune ได้ตามความชอบ ไลฟ์สไตล์ของคุณ
สามารถปรับแต่งได้ตามสไตล์ ตามความชอบ แต่หากเป็นมือใหม่ให้ลองตั้งค่าตามนี้ รับรองว่าภาพของคุณจะสวยขึ้นอีก
หากคุณชื่นชอบการถ่ายรูป ชื่นชอบโกโปร ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ GoPro ที่จะมาอัพเดตก่อนใคร มีทั้งสาระความรู้ และ เทคนิค การพูดคุยแลกเปลี่ยน ซื้อขายกล้องโกโปร ที่บอกได้เลยว่าสาวก GoPro ห้ามพลาด ได้ที่ GoPro Club เท่านั้น!!!
ติดตาม AquaPro เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชั่นใหม่ ๆ ทั้งกล้อง GoPro และอุปกรณ์เสริม GoPro ได้หลากหลายช่องทางที่
Post a Comment