การควบคุมกล้องเบื้องต้น – Center for Effective Learning and Teaching

การถ่ายวีดีโอหรือภาพนิ่งให้สวยงามนั้น นอกจากการรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์เรื่องต่างๆแล้ว การรู้จักกล้องที่มีอยู่และควบคุมให้ทำงานได้ดั่งใจก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งค่าพื้นฐานของกล้องนั้นมีดังต่อไปนี้

Speed Shutter(S)-ความเร็วชัตเตอร์

ความเร็วชัตเตอร์ คือ ระยะเวลาที่กล้องควบคุมให้แสงผ่านไปยังเซ็นเซอร์ หรือ ระยะเวลาเปิด-ปิดม่านชัตเตอร์ โดยจะมีหน่วยเป็นวินาที จะมีผลต่อการจับความเคลื่อนไหวของตัวแบบ ดังภาพ

ถ้าหากใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง(เสี้ยววินาที)จะสามารถจับการเคลื่อนไหวได้ชัด และนิ่ง แต่การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ จะทำให้การเคลื่อนไหวนั้นเบลอ ดังนั้นควรเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน

นอกจากจะใช้จับความเคลื่อนไหวแล้ว การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมากๆในการถ่ายภาพ จะส่งผลให้ภาพมืดเพราะมีเวลารับแสงน้อย ตรงกันข้ามถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำภาพก็จะสว่างขึ้น ดังนั้นทุกครั้งที่ทำการปรับความเร็วของชัตเตอร์ จะต้องคำนึงถึงความสว่างของภาพที่ต้องการด้วย

Tip

-ในกรณีกล้องวีดีโอจะคล้ายกับกล้องถ่ายภาพนิ่ง เพราะกล้องวีดีโอนั้นเป็นการนำเอาภาพนิ่งมาเรียงต่อกัน (frame per second) ดังนั้นการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ควรสอดคล้องกับค่า frame per second (fps) โดยมากจะใช้ค่าใกล้เคียงกับ 2 เท่าของ fps เช่น 30 fps ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ เหมาะสม จะอยู่ที่ประมาณ 1/60 วินาทีแต่ถ้าใช้ความเร็วที่ต่ำเกินไปวีดีโอก็จะเกิดการเบลอและภาพของตัวแบบจะซ้อนกันอยู่

-ในกรณีที่ถ่ายวีดีโอในสตูหรือในอาคาร ไฟฟลูออเรสเซนต์ จะมีความถี่ที่ 50Hz (หลอดไฟจะกระพริบที่ 50ครั้ง/วินาที) การใช้ชัตเตอร์ที่เร็วเกินค่าดังกล่าว จะทำให้ภาพมีการกระพริบขึ้น (มีแถบๆกระพริบๆขึ้นในวีดีโอ) ดังนั้นหากใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ ไม่เกิน 1/50 วินาที จะทำให้การกระพริบนี้หายไป ในกรณีที่ถ่าย จอคอมพิวเตอร์หรือทีวีก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

Aperture(F)-ค่ารูรับแสง

หน้าที่ของรูรับแสงนั้นจะเกี่ยวข้องกับปริมาณแสงที่ผ่านเลนส์มายังเซ็นเซอร์กล้องโดยตรง ถ้ารูรับแสงกว้างก็จะได้ปริมาณแสงเยอะ ก็จะได้ภาพที่สว่าง และถ้ารูรับแสงเล็กลงเรื่อยๆภาพก็จะมืดลงเช่นกัน

โดยรูรับแสงที่กว้างนั้นจะแทนด้วยค่าตัวเลขที่น้อย (F1.4,1.8) ส่วนรูรับแสงแคบจะแทนด้วยตัวเลขที่มากขึ้น

นอกจากปริมาณของแสงแล้วตัวเลขนี้ยังมีผลกับค่า Depth of field(DOF) หรือ “ช่วงระยะชัด” บางคนอาจจะเรียกว่า “ค่าชัดตื้น-ชัดลึก” โดยรูรับแสงที่กว้าง(เลขน้อย)จะมีช่วงระยะชัดที่แคบ และเพิ่มมากขึ้นตามตัวเลข โดยจะเห็นว่าฉากหลังจะเบลอขึ้นเมื่อรู้รับแสงกว้างขึ้น

นอกจากนี้การปรับค่ารูรับเสงให้กว้างขึ้น(ตัวเลขน้อยๆ) ในขณะที่ต้องการให้ภาพสว่างเท่าเดิม จะทำให้เราสามารถเพิ่มค่าความเร็วชัตเตอร์ได้อีกด้วย

Tip:

-สมัยก่อนค่ารูรับแสงนั้นมักจะแคบลง(เลขมากขึ้น)เป็นจำนวนประมาณเท่าเสมอ โดยเริ่มจากค่า F1.4 และ 2 ซึ่งปริมาณแสงที่เข้ามาก็จะเป็นจำนวนเท่าเช่นกัน แต่ปัจจุบันมีการแบ่งตัวเลขของรูรับแสงละเอียดมายิ่งขึ้น แต่การคำนวนปริมาณแสงจะใช้ค่าที่แสดงในภาพคร่าวๆได้

ค่าความไวแสง ISO

คือค่าความไวแสงของกล้อง ISO ย่อมาจาก “International Organisation for Standardisation” ซึ่งหมายถึงส่วนประกอบที่กำหนดมาตรฐานสากล ในการถ่ายภาพดิจิตอล จะใช้ในการกำหนดความไวต่อแสงของเซนเซอร์กล้อง การเพิ่มค่า ISO นั้นจะเป็นการเพิ่มระดับความไวต่อแสง ตัวอย่างเช่น การถ่ายภาพในที่แสงน้อย จะทำให้ไม่สามารถจับการเคลื่อนไหวได้ทัน หรือต้องใช้แฟลชหรือแสงอื่นๆเข้าช่วย ดังนั้นการเพิ่มค่าความไวแสงจะทำให้สามารถจับการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นในขณะที่ภาพมีความสว่างเท่าเดิม และไม่ต้องใช้แสงเสริมหรือเข้าช่วย

การเพิ่ม ISO จะทำให้ความเร็ซชัตเตอร์เพิ่มขึ้น

การเพิ่มความไวแสง ISO เป็นการเปิดให้เซนเซอร์ภาพรับเอาปริมาณแสงได้มากในเวลาอันสั้น ทำให้ใช้งานชัตเตอร์ความเร็วสูงกว่าเมื่อตั้งค่าความไวแสง ISO ต่ำ

จุดรบกวน(Noise)จะปรากฏตามระดับความไวแสง ISO

เมื่อถ่ายด้วยความไวแสง ISO สูง กล้องมักจะมีจุดรบกวนเกิดขึ้นบนภาพ เพราะการทำงานของกล้องดิจิตอลเสมอ โดยระดับของจุดรบกวนที่ยอมรับได้นั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

White Balance

White Balance หรือสมดุลแสงขาว เป็นกระบวนการชดเชยค่าสีของกล้อง ที่เกิดจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิสีของแสง เพื่อให้ได้ภาพที่มีสีสันที่ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน โดยมากจะสังเกตุวัตถุที่มีสีขาว ที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิดแสง ซึ่งค่าอุณหภูมิสีโดยทั่วไปมีดังนี้

ซึ่งการแก้ค่าในภายหลังแม้ว่าจะสามารถทำได้แต่ก็จะทำให้ไฟล์ที่ถ่ายมาเสียไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นการถ่ายงานในแต่ละครั้งจึงควรตั้งค่าสีให้ถูกต้องหรือผิดเพี้ยนน้อยที่สุด

Tip:

-บางครั้งการแก้สีสันให้ไม่ผิดเพี้ยน ก็อาจจะได้ภาพที่ไม่สวยงาม ดังนั้นการถ่ายงานบางครั้งการย้อมสีให้ WB ผิดเพี้ยนไปเพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการก็ได้

การวัดแสงและชดเชยแสง

การที่จะถ่ายภาพหรือวิดีโอให้ออกมาพอดี ไม่มืดหรือสว่างเกินไปเราจำเป็นต้องทำการวัดแสงก่อนทุกครั้ง และในกล้องปัจจุบันจะมีระบบวัดแสงมาให้ด้วยเสมอ สำหรับกล้องถ่ายภาพ DSLR การกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงนอกจากเป็นการโฟกัสภาพแล้วยังเป็นการวัดค่าแสงไปด้วย และสำหรับกล้องที่มีจอ LCD จะยิ่งสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลาว่าภาพจะมีลักษณะเช่นไร ระบบวัดแสงแบบต่างที่มีอยู่ในกล้อง DSLR มีดังนี้ ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ย

ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง และระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุด

ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ย คือ กล้องจะเป็นภาพออกเป็นส่วนๆ แล้วทำค่าแสงจากแต่ละส่วนนั้นมาหาค่ากลาง และแสดงผลออกมา โดยมากจะใช้กับภาพที่ไม่มีความแตกต่างของแสงมากนัก หรือต้องการความเร็วในการถ่ายไม่ได้ต้องการวัดแสงละเอียดมากนัก

Tip:

-กล้องถ่ายภาพที่มีในมือถือ และกล้องคอมแพค ส่วนใหญ่จะใช้ระบบนี้กันเป็นหลัก

ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง คือ การที่กล้องหาค่าแสงกลางจากทั้งภาพ แต่จะให้น้ำหนักของส่วนตรงกลางภาพมากกว่าส่วนอื่นๆ ระบบนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ให้ความสำคัญกับส่วนตรงกลางของภาพ เช่น การถ่ายภาพบุคคล

ระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุด คือ การที่กล้องนำค่าแสงจากพื้นที่เล็กๆประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ในช่องมองภาพ มาแสดงผล โดยจะเหมาะกับภาพที่มีความเปรียบต่างของแสงสูง (Contrast) เช่นภาพย้อนแสง ภาพซิลูเอท

หลักการทำงานของกล้องนั้น จริงๆแล้วกล้องถ่ายภาพจะไม่สามารถบอกได้ว่าวัตถุเป็นสีอะไร โดยจะทำได้เพียงจำแนกได้ว่าวัตถุนั้นดำหรือขาว ดังภาพด้านล่าง โดยค่ากลางระหว่างดำ-ขาวนี้จะถูกเรียกว่าค่าเทากลาง 18% เทียบเท่าแถบชดเชยแสงของกล้องที่เลข 0 และจะใกล้สีขาวขึ้นเมื่อมีค่าเป็น+ เรื่อยๆ โดยจะเป็นสีขาวที่ +2 (หน่วยจะเรียกเป็น Stop) และจะเป็นสีดำ เมื่อเข้าใกล้เลข -2 และปัจจุบันเทคโนโลยีจะยิ่งทำให้กล้องสามารถวัดแสงได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น บางรุ่นสามารถวัดได้มากว่า-2/+2 เลยทีเดียว

ในสมัยกล้องการวัดแสงให้แม่นยำช่างภาพก็จะนำกระดาษที่เป็นสีเทากลาง 18% นี้มาวางไว้หน้ากล้องแล้วทำการปรับค่าแสงให้เป็นเลข 0 แล้วจึงค่อยถ่ายภาพ ซึ่งปัจจุบันการจะทำเช่นนี้จะเป็นการยุ่งยากและรู้สึกแปลก ช่างภาพอาชีพจึงได้ทำตางรางสีต่างๆ เทียบกับค่าแสงออกมาซึ่งเราสามารถวัดและชดเชยแสงให้ถูกต้องได้ ตัวอย่างเช่น ไปถ่ายภาพที่มีสีเหลืองในภาพมากๆ ก็ทำการวัดค่าแสงและปรับชดเชยเสง ไปที่ประมาณ +1 หรือ+1.5 ก็จะได้ภาพที่มีแสงพอดี เป็นต้น

Tip:

-ในการทำงานจริงเราสามารถวัดและถ่ายมาดูภาพได้ ถ้าพบว่ามืดก็ปรับชดเชยแสงเพิ่มขึ้นจากเดิม และถ่ายใหม่ได้เลย โดยจะต้องโปกัสและวัดแสงไปที่ตำแหน่งเดิม

-ในโหมด ถ่ายภาพ P A S (Auto Av Tv) นั้นเราสามารถตั้งค่าชดเชยแสงไว้เลยได้ ซึ่งเมื่อทำการวัดแสงแล้วกล้องจะชดเชยแสงให้ตามที่ตั้งค่าไว้ด้วย ผู้ถ่ายควรสังเกตสภาพแวดล้อมก่อนถ่าย เช่นในกรณีที่แสงจ้า หรือมีวัตถุสีสว่างมากๆ เมื่อวัดแสงไปกล้องจะทำการปรับให้เป็นค่ากลาง(มืดกว่าความจริง) จากนั้นจึงชดเชยแสงตามที่ตั้งค่าไว้ ดังนั้นกรณีนี้จึงต้องตั้งค่าแสงเป็น + ไว้ เป็นต้น

-ในกรณีที่เร่งรีบให้ตั้งค่าแสงไว้กลางๆเสมอ เพราะเราสามารถมาปรับละเอียดได้ในโปรแกรมแต่งภาพทั่วไป

เว็บจำลองการตั้งค่ากล้อง

อ้างอิง

Bangkok Photographic Society :

Digitalcameraworld :