กล้องวงจรปิดกันระเบิด (Explosion Proof Camera Housing)
กล้องวงจรปิดกันระเบิด อย่าเข้าใจผิดกันนะครับว่ากล้องวงจรปิดสามารถกันระเบิดได้ ความหมายก็แค่ว่าตัวกล้องวงจรปิดบรรจุเอาใว้ในอุปกรณ์ที่ป้องกันแรงกระแทกสูงๆ
เช่นแรงระเบิด ป้องการไฟไหม้อะไรประมาณนี้ครับ ก็คือมีตัวคลอบกล้องวงจรปิดเอาไว้อีกที ที่เราเรียกกันว่า Housing นั้นเอง เป็นการผลิดโดยสามารถเอากล้องใส่เข้าไปด้านในอีกที
วัสดุที่ใช้ในการผลิตก็มีหลายรลักษณะซึ่งส่วนใหญ่ที่นิยมกันก็จะเป็นสแตนเลส ซึ่งจะมีความคงทน ป้องกันสนิมได้เป็นอย่างดี
อุปกรณ์ป้องกันระเบิด ได้รับความนิยมนำไปใช้งานกันตามโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีความเสียงสูงเรื่องของระเบิด อย่างเช่น ปตท. โรงกลั่นน้ำมัน ต่างๆ
ก็จะใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ในการติตดั้งกล้องวงจรปิดควบคู่กันไปด้วย ซึ่งช่วยป้องกันประกายไฟที่อาจเกิดจากตัวกล้องวงจรปิดออกมาภายนอก และป้องกันประกายไฟภายนอกเข้าไปภายในตัวกล้องวงจรปิด
ทำให้เราไม่ได้ภาพในขณะที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นได้ครับ การติดตั้งต้องเป็นชนิดเดินเป็นท่อเหล็กชนิดหน้าอย่างดี ถึงจะมีประสิทธิภาพในการนำมาใช้งานครับ เช่นท่อ IMC RSC เป็นต้น
การติดตั้งอุปกรณ์กล้องวงจรปิดกันระเบิด ถือว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเอาการอยู่เหมือนกันครับ ด้วยชุดอุปกรณ์ที่มีขนาดนน้ำหนักที่มาก ต้องใช้ผู้ช่วย 2-3 คน เพื่อป้องการการผิดพลาด
หรือทำให้อุปกรณ์เกิดการเสียหาย ตกหล่นขึ้นได้ เพราะมันจะต้องประกอบไปด้วยตัว Housing ตัวขา และสุดท้ายก็คือตัวกล้อวงจรปิดเองที่อยู่ด้านในครับ
เพื่อใช้ในการป้องกันฝุ่น และป้องกันน้ำไม่ให้เข้าไปในแฝงของอุปกรณ์ภายใน ที่อาจเกิดการเสียหายขึ้นได้ คือ มาตรฐาน IP (Ingress Protection) เป็นมาตรฐาน
ที่ช่วยให้ผู้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้านำไปตรวจสอบได้ ซึ่งมาตรฐานนี้ก็จะนิยมใช้กันทั่วโลก โดยความหมายตัวเลขด้านหน้าก็จะเป็นเลือกของความสามารถในการป้องกันของแข็ง
ซึ่งจะเริ่มจากเลขน้อยสุดก็คือเลข 0 ไปยังตัวเลขที่มากขึ้นไปอีกตามลำดับ จนถึงลำดับที่ 6 ที่มีค่าสูงสุด ส่วนหมายเลขหลักที่ 2 ก็จะเป็นเรื่องของมาตรฐานของเหลวที่จะสามารถป้องกันได้
โดยเริ่มจากตัวเลข 0 ซึ่งมีค่ามาตรฐานน้อยที่สุด เรียงลำดับขึ้นไปจนถึงหมายเลขที่ 8 เป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับการป้องกันค่าที่ดีที่สุด นั้นคือป้องกันน้ำในระดับความลึกไม่เกิน 1 เมตร
ช่วยให้ผู้ซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ของเรา ว่าสามารถป้องกันได้มากน้อยแค่ไหน เหมาะกับสภาพหน้างานที่จะสามารถนำไปติดตั้งอุปกรณ์ได้จริงหรือป่าว หรือจะได้หาทางหลีกเลี่ยงในการติดตั้ง
หลายๆ ครั้งหากเรานำอุปกรณ์ที่ซื้อไปแล้วนำไปติดตั้ง หรือรู้เท่าไม่ถึงการ ก็อาจเกิดการเสียหายขึ้นได้ การสังเกตุค่ามาตรฐานการป้องกันน้ำ ป้องกันฝุ่น
จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก เช่นเดียว กับอุปกรณ์ป้องกันระเบิด ก็เช่นกัน ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้ก็จะมีความเป็นมาตรฐาน ที่สูงกว่าเป็นพิเศษ
การเลือกหรือนำไปใช้งานก็เลยต้องเลือกที่ให้มีความเหมาะสม และป้องกันความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นได้
เป็นอีกมาตรฐานที่กล้องวงจรปิดในปัจจุบันมีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้ คือ IK Rating : Impact Protection เป็นเครื่องหมาย หรือแสดงค่ามาตรฐานให้ผู้ใช้งานได้ทราบว่าอุปกรณ์ที่เลือกซื้อ
ไปมีความทนทานแข็งแรงขนาดไหน ซึ่งบางครั้งเราในฐานะผู้ซื้อเพื่อนำไปใช้งานเอง ก็แทบจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันทนทานจริงตามที่พนักงานได้ทำการแนะนำให้เราได้จริงหรือป่าว เพราะไม่รู้จะตรวจสอบอย่างไร
แต่หากมีค่ามาตรฐานอันนี้ระบุเอาไว้ ก็ทำให้เรามั่นใจได้ สำหรับมาตรฐานของตัวชี้วัดเรื่องการทนทานนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ค่าครับ นั้นก็คือค่าของน้ำหนักวัตถุที่ตกกระแทกอุปกรณ์ของเราได้
และค่าของระยะความสูงของการตกกระแทกผลิตภัณฑ์ของเราครับ โดยมาระหัสที่เราเรียกกันเป็น IK00 ที่เป็นค่ามาตรฐานขึ้นต่ำที่แสดงให้เราทราบ จนถึงค่ามาตรฐานที่มีค่าสูงสุดคือ IK10+ ตัวอย่างเช่น IK10+
ตัวสินค้าของเราสามารถรับน้ำหนักวัตถุที่สามารถตกกระแทนได้สูงสุดไม่เกิน 10 กิโลกรัม โดยวัตถุที่ตกลงมานั้นจะต้องมีความสูงจากพื้นไม่เกิน 40 เซนติเมตร หากมีนำ้หนักมากกว่าที่กำหนด
หรือตกลงมาจากที่ระดับสูงกว่านี้ อาจทำให้อุปกรณ์ของเราเกิดการเสียหายได้ สำหรับมาตรฐานกล้องวงจรปิดกันระเบิด อาจจะไม่อยู่ในเงื่อนไขมาตรฐานที่กล่าวมา
เพียงแค่ต้องการให้ทราบว่าหากเราในฐานะผู้เลือกใช้งานสินค้า เราสามารถที่จะดูความเหมาะสมของสินค้าที่เลือกซื้อมาใช้งานให้เหมาะสมกับสภาพหน้างานทีนำไปติดตั้งได้เลย
ไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าราคาสูง เหมือนกับอุปกรณ์ครอบกล้องวงจรปิดกันระเบิด อะไรก็ได้ หากเปรียบเทียบกับราคา และความจำเป็นแล้วบางครั้งก็ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
การจัดเก็บสารเคมีแต่ละชนิด จะมีวิธีการจัดเก็บที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะของสารเคมีแต่ละชนิด ไม่สามารถใช้การจัดเก็บที่เหมือนกันได้ อย่างเช่น สถานที่ในการจัดเก็บควรเป็นแบบมิดชิด
แยกออกมาจากภายนอกอาคารหลัก แล้วก็ควรสร้างเป็นอาคารที่มีผนังที่ทนไฟ ปิดล็อคมิดชิด มีป้ายบอกให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สถานที่เก็บสารเคมี เป็นต้น มีการจัดวางสินค้า
หรือสารเคมีอย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อการเข้าถึง และหยิบใช้งานได้ไม่ยุ่งยาก
สารเคมีชนิดไวไฟ (Flammable Materials) สารเคมีจะมีการะเหยได้ง่าย มีความดันของไอสูงทำให้ติดไฟได้ง่ายมาก ละอองหรือฝุ่นที่เกิดจากสารเคมีทำให้เกิดการลุกของไฟได้ง่าย อย่างเช่น
ไฮโดรของโบรอน ฟอสฟอรัส หรือก๊าชไวไฟต่างๆ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องเก็บเอาไว้ในพื้นที่เย็น อากาศถ่ายเทได้ง่าย และต้องให้ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ เช่นความร้อน และประกายไฟ หรือเปลวไฟ
รวมถึงภาชนะในการจัดเก็บหรือตู้ที่ทำการจัดเก็บต้องมีความปลอดภัยด้วย ที่สำคัญต้องมีการทำป้ายแจ้งเตือน และห้ามสูบบุหรี่ ในบริเวณนั้นโดยเด็ดขาด รวมถึงการต่อสายไฟต่างๆ ในพื้นที่
สารที่เข้ากันไม่ได้ (Incompatible Materials) คือสารที่เมื่อนำมาอยู่ใกล้ๆ กันแล้วตัวสารเคมีจะทำปฎิกิริยาระเบิด เกิดความร้อนหรือเป็นก๊าซพิษขึ้นได้
สารเป็นพิษ (Toxic Hazards) คือ สารซึ่งก่อให้สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด เกิดอันตรายได้ รวมถึงสารกัมมันตรังสี ซึ่งถือว่ามีระดับความเป็นอันตรายมาก การจัดเก็บต้องทำากรปิดฝาให้สนิท
อากาศไม่สามารถเข้าได้ จะต้องคอยทำการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ทั้งภาชนิและพื้นที่ในจากจัดเก็บทั้งหมด ที่สำคัญต้องให้มีความห่างจากแหล่งจุดติดไฟ
สารกัดกร่อน (Corrosive Materials) คือสารที่เป็น กรด และ ด่าง สารพวกนี้จะทำลายภาชนะที่บรรจุและจะออกมายังอากาศภายนอกได้ง่าย หากดีหน่อยก็จะระเหยไปในอากาศได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ทุกชนิด
บางชนิดอาจทำให้เกิดปฎิกิริยาที่รุ่นแรง กับความชื้นของอากาศในบริเวณนั้นได้ การจัดเก็บเราจะต้องเก็บในพื้นทีที่มีความเย็นในระดับจุดเยือกแข็งสูงๆ ที่จะมีความปลอดภัย การหยิบจับสารเคมีชนิดนี้จะต้องมีการใส่ถึงมือ สวมแว่นตาให้เรียบร้อย
สารระเบิด (Explosives) คือ สารที่มีผลกับอุณหภูมิในบริเวณพื้นที่ หรือเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง สารเคมีจะทำปฎิกิริยารุ่นแรงก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ง่าย
รวมทั้งอากาศที่มีความร้อน หรือมีความเย็นจัดๆ อากาศแห้ง ทุกอย่างอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการระเบิดของสารเคมีได้ง่า เราจะต้องทำการจัดเก็บให้ห่างจากตัวอาคาร
ทำการล็อกห้องอย่างแน่นหนา ไม่เก็บในที่มีเชื่อเพลิง หรือติดไฟง่ายและต้องห้ามให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่อย่างเด็ดขาด
ผนังอาคาร สำหรับใช้ป้องการสารเคมี หรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดไฟไหม้ขึ้นได้จะต้องมีความแข็งแรง ควรเป็นแผ่นโลหะ เพื่อที่เราจะได้ป้องกันไฟจากภายนอกเข้ามาภายในอาคารได้
ส่วนผนังภายในอาคารเอง ก็ควรจะมีการทนไฟได้นาน 60 นาที และมีความสูงขึ้นไปเหนือหลังคา อย่างน้อย 1 เมตร วัสดุที่นิยมใช้เพื่อป้องการและมีความแข็งแกร่งทนทาน อย่างเช่น
ในผนังด้วยก็จะดี ส่วนงานเดินท่อประปา ท่อร้อยสายไฟ ต้องวางอยู่ในทรายเพื่อป้องการไฟพื้น สำหรับพื้นอาคารเองก็ต้องไม่ดูซับของเหลวด้วย ต้องมีความเรียบ ไม่ลื่น
ไม่มีรอยแตกร้าวของพื้น ทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ ต้องมีการออกแบบให้สามารถกักสารเคมีที่รั่วไหล ไม่ให้ไหลออกไปด้านนอกได้ ด้วยการทำขอบพื้นรอบด้านทั้งหมด
หลังคา ต้องมีการกันฝนได้ สามารถที่จะระบายความร้อน ระบายควันหากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลังคาเองต้องไม่ควรทำจากไม้ เพราะหากเกิดอะไรขึ้นมา
ทำให้เกิดการเผาไหม้ได้ง่ายจนเกินไป ลุกลามได้เร็ว ควรเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟง่าย ตัวหลังคาเองควรเลือกที่มีน้ำหนักเบา หากเกิดการยุบตัว เมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้
ประตูกันไฟ จะต้องมีความแน่นหนา ป้องกันไม่ให้ไฟจากภายนอก เข้าไปภายในได้ หรือป้องกันไฟจากภายใน ไม่ให้ออกมายังภายนอกได้ จะต้องมีการทำประตูฉุกเฉินที่มีความทนไฟได้เป็นอย่างดี ไม่ควรนำอุปกรณ์ใดๆ มาวางขวางทางเข้าออกประตูหนีไฟโดยเด็ดขาด
ทางเดินฉุกเฉิน ทางออกฉุกเฉินจะมีเอาไว้อีกหนึ่งทาง นอกจากทางเข้าและออกปรกติที่มีกันอยู่แล้ว จะต้องมีการออกแบบทิศทาง การใช้งานของทางออกฉุกเฉินเป็นอย่างดี
รองรับการใช้งานที่ดี กับจำนวนผู้คนที่ต้องใช้งานยามฉุกเฉิน ไม่แคบ หรือหาทางออกไปเจอ ต้องเปิดออกได้ง่าย ทั้งที่มีสภาพมืดสนิท มีการระบายอากาศได้
การระบายน้ำ ท่อระบายน้ำจะต้องเป็นชนิดที่ไม่ติดไฟ สามารถนำน้ำมาใช้ในยามฉุกเฉินได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายไกล
การเลือกใช้ กล้องวงจรปิดกันระเบิด Explosion Proof Camera Housing เพื่อช่วยในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของพื้นที่ลดความเสียงในการเดินเข้าไปตรวจสอบในพื้นที่อันตรายได้เป็นอย่างดี กล้องวงจรปิดกันระเบิดจึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างสูงในการนำมาเลือกใช้งาน
Post a Comment