3 วิธีจัดการ เคลียร์รูปบนมือถือ แบบไม่ต้องเสียดาย
นับตั้งแต่มือถือมีกล้อง ก็เริ่มเป็นปัญหาให้กับหลาย ๆ คน ที่จะต้องคอยจัดการพื้นที่ให้มีเพียงพอ วิธีการจัดการแบบพื้นฐานที่สุด คือ “ลบทิ้ง” บางทีผมได้เห็นใครกำลังนั่งลบรูปในมือถือ ก็รู้สึกเสียดายแทน เพราะแม้ต้นทุนของการถ่ายแต่ละภาพอาจจะไม่มากเท่ากล้องฟิล์ม แต่มันก็มีมูลค่าทางจิตใจ แต่ละโอกาสที่เรายกมือถือเปิดแอพฯ กล้องขึ้นถ่าย ล้วนสำคัญกับเราไม่มากก็น้อย
สาเหตุที่ต้องลบ ส่วนใหญ่เพราะคนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ ก็ไม่รู้จะคัดลอกรูปจากในมือถือออกมาใส่คอมพิวเตอร์ยังไง เก็บไว้ที่ไหน แต่ปัญหาเหล่านี้มันเป็นอดีตไปแล้วครับ เพราะทุกวันนี้เรามีที่ทางให้เคลียร์รูปกันแล้ว และข่าวดีคือ “ง่าย” ซะด้วย
สำหรับผู้ใช้แอนดรอยด์ มีระบบ OTG ที่เป็นหัว micro USB เสียบเข้ามือถือปั๊บเหมือนเป็นฮาร์ดดิสก์อีกก้อน ที่มาคัดลอกโยกย้ายรูปในเครื่องของเราออกไปเก็บได้ทันที และสนนราคาก็ไม่แพงด้วย FlashDrive 32GB ราคาไม่ถึง 500 บาท เมื่อใกล้เต็มก็หาโอกาสไปคัดลอกใส่ฮาร์ดดิสก์ก้อนใหญ่ผ่านคอมพิวเตอร์นาน ๆ ครั้ง (เสียบเครื่องแปลกหน้า ระวังไวรัส มัลแวร์ด้วยนะ)
การเก็บรูปใส่สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้ เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยได้ต่ออินเทอร์เน็ต หรือรูปถ่ายมีความลับเยอะ ซึ่งไม่เหมาะที่จะเสี่ยงอัพโหลดรูปขึ้นไปฝากไว้ที่ใด ๆ นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกประการ คือ เราจะได้เก็บภาพต้นฉบับเอาไว้
แต่ขอแนะนำว่า อุปกรณ์จัดเก็บเหล่านี้ควรมีคุณภาพดีหน่อย ไม่เช่นนั้นเกิดจู่ ๆ เสียไปกลางทางแล้วจะเสียใจมาก และหากใครจัดเก็บไว้นานแล้ว เมื่อใช้ไปถึงช่วง 3-5 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับการหมดประกันของอุปกรณ์จัดเก็บ ก็ควรจะตรวจสอบหรือถ่ายโอนเข้าอุปกรณ์ใหม่ไว้อีกชุด
การส่งรูปไปเก็บไว้บนบริการออนไลน์ หรือเรียกว่าคลาวด์ก็ได้ มีทั้งคลาวด์แบบเป็นพื้นที่เก็บอย่างเดียว จะต้องจัดการเหมือน File Manager ส่วนคลาวด์แบบที่ใช้จัดการรูปภาพโดยเฉพาะ จะมีเครื่องมือมากมาย ตั้งแต่การตกแต่งภาพ ไปจนถึงการค้นคืน และแถมด้วยความสามารถในการแชร์ต่อไปยังสังคมออนไลน์ หรือบล็อกต่าง ๆ
ข้อควรระวัง แอพฯ ส่วนใหญ่จะมีกลไกอัพภาพจากกล้องขึ้นสู่เว็บโดยอัตโนมัติ ถ้าคุณมักจะถ่ายรูปความลับบ่อย ๆ
ผมแนะนำให้ไปสมัครลองใช้ให้หมดเลยครับ ถ้าถนัดและชอบก็เลือกอันนั้น หลายตัวให้ใช้ฟรีระดับหนึ่ง ซึ่งก็อาจจะพอใช้แล้วสำหรับหลายคนครับ
จุดเด่นของ iCloud คือ ผสานโยงกับอุปกรณ์ iOS และ Mac ขณะที่ Dropbox มีหน้าจอที่ใช้งานง่าย เช่นเดียวกับ OneDrive ส่วน Flickr เป็นเจ้าตำรับเว็บเก็บภาพ มีเครื่องมือที่ซับซ้อน นักเก็บภาพมืออาชีพคงชอบครับ ด้านน้องใหม่ Google Photos เป็นบริการที่ผมเชียร์ให้ใช้ที่สุด เพราะให้พื้นที่เก็บแบบไม่จำกัด และมีข้อแม้ว่ารูปจะโดนย่อลงนิดหน่อย
สำหรับคนที่พอจะถนัดหรือใช้คล่องแล้ว ผมแนะนำสูตรของผมให้ครับ
3. โหลดแอพฯ ส่งภาพเข้าสู่ Google Photos สำหรับเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลาและค้นหาง่าย
4. หากมือถือเต็มจะลบรูปเก่าหรือไม่ใช้ ซึ่งอยู่ในเครื่องและ iCloud
ภาพในฮาร์ดดิสก์จะเป็นต้นฉบับแบบดิบ ๆ ส่วนภาพที่ใช้ส่งใช้แชร์ จะใช้จาก Google Photos เพราะค้นหาง่าย ด้วยคำค้นที่หลากหลาย ส่วน iCloud นั้น เอาไว้เป็นของสำรองครับ
Post a Comment