10 เทคนิคเลือกซื้อกล้อง Mirrorless ปี 2019 ยังไงไม่ให้พลาด

10 เทคนิคเลือกซื้อกล้อง Mirrorless ปี 2019 ยังไงไม่ให้พลาด กระแสช่วงนี้เราจะเจอเรื่องของกล้องที่เปิดตัวมาอย่างต่อเนื่อง และก็มีโปรโมชั่นออกใหม่วนเวียนตลอดเวลา จนทำให้คนที่เริ่มเล่นกล้องหลายคนมักจะเกิดความลังเลว่า ถ้าจะซื้อกล้องสักตัวในช่วงนี้ ควรจะมองอะไรบ้าง ซึ่ง 10 เรื่องที่ผมว่ามานี้จะช่วยให้มุมมองเพิ่มเติมสำหรับมือใหม่ในการเลือกกล้องสักตัวสำหรับเราเองครับ

ก่อนเราจะไปเริ่มเลือกกล้องสักตัว อยากจะให้เริ่มจากตรงนี้เพื่อความคุ้มค่าของตัวเราเองก่อนว่า เราต้องการเอากล้องไปถ่ายอะไรบ้าง หรืองานที่เราอยากจะได้ เราคาดหวัง Output แบบไหนจากกล้องตัวนี้ เช่น อยากเอาไปถ่ายภาพนิ่งอย่างเดียว ก็เจาะจงด้วยว่า ภาพนิ่งนี่คาดหวังคุณภาพแบบไหน เนี๊ยบเลย ถ่ายวิว หรือแค่ชิล ๆ

หรือเรามีตัวเลือกว่า ถ่ายภาพนิ่งกลาง ๆ ในระดับที่โอเค แล้วก็อยากให้กล้องตัวนี้ถ่ายวีดีโอได้ดีด้วย ซึ่งการกำหนดตรงนี้ จะทำให้เราเริ่มได้รายชื่อรุ่นกล้องที่เหมาะกับความต้องการเราบ้างแล้วครับ

2. ควรเข้าใจตัวเองระดับนึงเลยว่า รูปลักษณ์ของกล้องมีผลกับจิตใจเรา ความพึงพอใจเรามากน้อยแค่ไหน (เรื่องนี้ส่งผลกับข้อต่อไป)

จริง ๆ ประเด็นนี้ผมมักเจอกับเพื่อน ๆ ที่เริ่มอยากจะได้กล้อง สำหรับหลายคนที่เหมือนกับยังลังเลระหว่าง Performance กับ Design ผมต้องอธิบายให้ชัดเจนแบบนี้คือ การที่เราถ่ายรูป เรามีความสุขกับมันนะ เราได้เพลิดเพลินกับช่วงเวลาพักผ่อน เที่ยว หรือถ่ายรูปแฟน ดังนั้นไม่ผิดถ้าเราจะเลือกให้ความสำคัญกับความสวยงามของการออกแบบกล้องก่อน เพราะนั่นคือสิ่งที่เราอยากได้ คือสิ่งที่เราคาดหวัง

ดังนั้นถ้าหากมีคนมาบอกว่ากล้องรุ่นนึงอาจจะ Performance ดีมาก แต่หัวใจเราคาดหวังความสวยงาม ผมอยากให้เริ่มถามตัวเองว่า ใช้กล้องตัวไหนแล้วเรามีความสุขกับมันมากกว่ากัน รูปลักษณ์ การออกแบบ การจับถือ จะมีส่วนสำคัญตรงนี้ ถ้าเราคิดว่าดีไซน์เราค่อนข้างคาดหวังมาก เราก็ต้องตกลงกับตัวเองให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ไม่ลังเลเวลามีคนเอาสเปคกล้องมาเทียบครับ

3. ให้ความสำคัญนะว่าควรเลือกกล้องที่ตรงกับความต้องการเรามากที่สุด ทั้งความรู้สึก ความชอบ ประสิทธิภาพ เหตุผล และกำลังซื้อ (ผมย้ำจากข้อ 1 และ 2 รวมกัน)

จริง ๆ มันคล้าย ๆ กับสองข้อเมื่อกี้ที่พูดไป แต่ขยายในส่วนนี้เพื่อเน้นย้ำถึงคุณค่าทางจิตใจและเหตุผลในการตัดสินใจซื้อครับ คือ ผมอยากให้เริ่มเขียนความต้องการลงในการดาษว่า ประเด็นไหนในตัวกล้องที่เราต้องการให้มันมีมากที่สุด เช่น ผมต้องการกล้องที่เวลาสะพายแล้ว คนมองว่าเท่ห์นะ กล้องสวย น่าใช้งาน แล้วเหมาะกับการแต่งตัวของเรา

หรืออยากจะได้กล้องสำหรับถ่ายวิว เน้นความละเอียด ราคาไม่สูงมากแต่เอารายละเอียดมาก่อน จะได้เอาไฟล์รูปมาแต่งต่อ สิ่งเหล่านี้เราต้องเขียนออกมาให้ชัดเจนครับ เมื่อได้ตัวเลือกรายชื่อกล้องเหล่านั้นมาแล้วเนี่ย เราก็จะเริ่มรู้แล้วว่ากล้องตัวไหนมีจุดเด่นที่เราอยากได้ และข้อด้อยของกล้องนั้น ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่เรายอมรับได้ไหม จากนั้นจะเป็นส่วนสุดท้ายคือเรื่องเหตุผลและราคา เพราะงั้นคนที่ซื้อกล้องเป็นตัวแรกครั้งแรก จะลังเลค่อนข้างมาก ถ้าหากว่ายังมองไม่เห็นความชอบในตัวกล้อง สิ่งที่เราอยากจะถ่าย แล้วก็กำลังซื้อของเราเองครับ

รวมบทความเกี่ยวกับการเพิ่มไอเดียและมุมมองในการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่

สำหรับบางคนเรื่องกำลังซื้อก็เป็นปัจจัยสำคัญ บางครั้งเราอยากได้กล้องประสิทธิภาพที่สูง แต่ราคาถูกกว่าตลาด มักจะมีประเด็นเรื่องกล้องมือสองเข้ามาว่า คุ้มหรือเปล่า? ผมต้องแจ้งแบบนี้นะว่ากล้องมือสองเนี่ย ผมก็ซื้อใช้ค่อนข้างบ่อยมากกว่ามือหนึ่ง แต่ก็มีหลายเรื่องที่ต้องรับทราบเดี๋ยวมาไล่รายละเอียดกันครับ

• ได้ของใหม่ รู้สึกเติมเต็มกว่า (เพราะของใหม่นั่นแหละ)

• ได้เจอพนักงานที่ขายให้จากหน้าร้าน สามารถติดต่อประสานงานได้ที่สาขาโดยตรงเมื่อกล้องเกิดปัญหาจริง ๆ

• ราคาตามหน้าร้านเลยครับ ถ้าได้โปรก็ถูกหน่อย แต่ถ้าไม่มีโปรโมชั่นก็ราคาเต็ม

• ราคาถูกกว่า ตามสภาพ และกลไกตลาด บางแบรนด์จัดราคาลดบ่อย ทำให้ราคามือสองก็ลดตามลงไปอีก บางแบรนด์หามือสองได้ถูกมาก

• ควรมีความรู้ในการเลือกซื้อต้องมือสองด้วย ต้องรู้ว่ากล้องมือสองรุ่นที่เราใช้เนี่ย คนส่วนใหญ่เขาซื้อไปถ่ายอะไร เช่น กล้องบางรุ่นเน้นงานวีดีโอ สภาพอาจจะเหมือนใหม่ แต่อาจจะผ่านงานวีดีโอมาเยอะก็ได้ เป็นต้น (แต่ถ้าคนรับได้ก็อีกเรื่องนึง)

จะเห็นได้ว่ากล้องมือหนึ่งและมีสองก็มีข้อสังเกตอยู่ครับ ถ้าถามว่าควรซื้อมือหนึ่งหรือมือสอง ผมตอบให้ไม่ได้จริง ๆ เพราะอยู่ที่คนซื้อว่ารับได้แค่ไหนครับ

จริงอยู่ที่เรามีงบสำหรับการซื้อกล้อง แต่ควรดูให้รอบด้านด้วย เช่น เมมโมรี่การ์ดต้องเปลี่ยนไหม เพราะกล้องบางตัวความละเอียดสูงขึ้นมาก ทำให้เราต้องเปลี่ยนเป็นเมมที่ทำงานเร็วขึ้น ความจุเยอะขึ้น, หรือแม้แต่เลนส์ที่มีให้ใช้ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปถึงระดับโปร มีทางเลือกทางด้านราคาให้เรามากน้อยแค่ไหน ถ้าเจอแต่เลนส์แพงอาจจะเหนื่อยอยู่เหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ควรกำหนดในงบให้เรียบร้อยครับ

นโยบายการรับประกัน ผมขอยกให้ประกันศูนย์ก่อน การประกันศูนย์จะมีนโยบายในการดูแลลูกค้าที่ชัดเจน เป็นกระบวนการ บางรายการเขาดูแลให้เต็มที่จริง ไม่เสียค่าใช้จ่ายก็มี แต่บางรายการ ถ้าเปลี่ยนแล้วอยู่นอกเงื่อนไขก็จะมีการแจ้งค่าซ่อมหรือบริการตามปกติ ทีนี้ถามว่าดีไหม ผมมองว่าดี หลายครั้งอุบัติเหตุเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิด เข้าศูนย์ยังมีอะไหล่ซ่อมหรือเปลี่ยนให้ได้แน่นอน แล้วมีการบริการตามนโยบายของบริษัท ไม่พอใจตรงไหนก็ยังแจ้งคอมเพลนได้ เป็นต้น

นอกจากนี้การประกันสำหรับบางร้าน มีซื้อเพิ่มเพื่อขยายขอบเขตกรมธรรม์ในการคุ้มครอง เช่น ตกหล่นลงพื้น ลงน้ำ ประกันกล้องหาย (มีนะ ลองไปหาดูว่าร้านไหน) อันนี้จะทำให้เราสามารถที่จะใช้งานกล้องได้อย่างสบายใจขึ้น โดยเฉพาะมูลค่าสูง

ประกันร้าน ราคากล้องจะถูกกว่าศูนย์ประมาณนึงเลย เพราะมีกระบวนการนำเข้ามาไม่ได้เหมือนทางศูนย์ประเทศไทย แล้วก็เวลาเข้าศูนย์ในช่วงปีหลัง ๆ จะมีค่าแรงค่อนข้างเยอะ (เยอะกว่าคนใช้ประกันศูนย์ 30%-50% แล้วแต่แบรนด์) แต่ถ้าซ่อมกับร้าน(ประกันร้าน) ที่นำเข้ามา ก็ต้องลองถามเขาครับว่าเขาเอาไปซ่อมที่ไหน อาจจะเป็นที่ศูนย์หรือร้านซ่อมที่เขาดูแลประจำให้ ต้องลองถามเขาอีกที แต่ที่ผมทราบมาคือ ทางศูนย์ที่นำเข้าและจำหน่ายอย่างเป็นทางการเขาก็พยายามออกนโยบายมาเพื่อต่อสู้กับประกันร้านอยู่ คนซื้อต้องประเมินความเสี่ยง ข้อดีข้อเสียกันเองนะ

• รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับระบบโฟกัสภาพสำหรับมือใหม่

ปัจจุบันจะมีเลนส์ค่ายอยู่ ก็คือเลนส์แบรนด์เดียวกับกล้องนั่นแหละครับ แต่ว่าจะมีเลนส์ทางเลือก คือเลนส์ Third Party หรือว่าเลนส์นอกค่ายที่เรียกกัน เลนส์กลุ่มนี้จะมีราคาที่ค่อนข้างน่ารักกว่าค่าย บางแบรนด์จะเป็นเลนส์คุณภาพสูงเน้น ๆ เลย ราคาก็อาจจะถูกกว่าค่ายหน่อย ๆ อันนี้ลองประเมินดูว่าเราสนใจเรื่องเลนส์ค่าย เลนส์นอกค่าย และทางเลือกมากแค่ไหน ถ้าไม่ได้สนใจมากก็ข้ามไปได้เลยครับ

เวลาที่เราเลือกกล้อง บางครั้งเราจะมีความคิดที่ว่า เอาแบบขอให้ได้ใช้ก่อน เก่งขึ้นค่อยคิดอีกที กับบางคนเลือกที่ว่า เอาดี ๆ ไปเลยจะได้คุ้ม แบบนี้ก็มี คำถามคือควรมีวิธีคิดยังไงกับเรื่องนี้

ผมมองว่าเอาเรื่องกำลังซื้อและความชอบมาก่อน คือถ้าซื้อแบบเผื่ออนาคตแล้วไม่มีความสุขในการใช้ หรือซื้อแล้วรู้สึกว่า รู้งี้ซื้อตัวนั้นน่าจะโอเคกว่า แบบนี้จะเสียใจครับ เอาที่เราชอบก่อน

ทีนี้ถ้าเรายังมีกำลังซื้อและความชอบมันโอเคแหละ แต่มีตัวเลือกว่ากล้องระดับเริ่มต้นค่อนไปทางระดับกลาง หรือเลือกระดับกลาง ๆ ไปโปรเลยดี, อันนี้ให้วกกลับไปที่ข้อแรกครับ เราคาดหวังอะไรกับงานของเรา ถ้าเราต้องการที่เนี๊ยบมาก ๆ แม้ว่าสกิลยังไม่ถึง แต่วันนึงเราไปถึงแน่ ๆ อันนี้เลือกเผื่ออนาคตไว้บ้างได้เลย, แต่ถ้าเราต้องการถ่ายสนุก ๆ ชิล ๆ ไม่ซีเรียสอะไรมาก การเลือกซื้อกล้องที่ประสิทธิภาพเกินตัวเราก็อาจจะทำให้เราจ่ายเยอะขึ้นแต่ไม่ได้ใช้ความสามารถนั้น (เว้นแต่อยากได้กล้องสเปคดี ๆ ไว้เพื่อความสบายใจ อันนั้นก็อีกเรื่องครับ)

9. จังหวะในการซื้อ ช่วงเวลาที่ร้านกล้องและแบรนด์มักจะจัดโปรโมชั่น

อันนี้เป็นหัวข้อเด่นที่มีตามมาในปี 2019 ผมบอกเลยว่ากล้องปี 2019 นั้น ถ้าจะซื้อ ดูจังหวะนิดนึง เช่น บางแบรนด์เปิดตัวรุ่นใหม่ รุ่นเก่าที่เรากำลังจะซื้อมีแนวโน้มจะปรับราคา ถ้าพลาดซื้อผิดจังหวะอาจจะรู้สึกใจหวิว ๆ นิด ๆ (แต่ถ้าไม่แคร์ก็อีกเรื่อง)

หรือในช่วงหลัง Marketplace และทางร้านค้าปลีก มีการจัดโปรโมชั่นร่วมกัน ราคาจะลงเยอะกว่าที่เราคิดมาก บางช่วงเวลาลดเยอะพอ ๆ กับงาน Photo Fair ก็มีครับ ซึ่งอันนี้ต้องลองศึกษา Timing โดยยึด Marketpalce เป็นหลักก่อน แล้วก็ดูว่างานกล้อง 2019 ของแต่ละร้านค้าปลีกเขาจะจัดช่วงไหน (อ้างอิงช่วงเวลาจากปีก่อน ๆ ได้ครับ เพราะเขามักจะใช้ช่วงเวลาเดิม สถานที่เดิมในการจัดงาน) อันนี้ต้องดูจังหวะด้วย บางทีแอบถามพนักงานที่ร้านด้วยก็ได้ ว่าพอรู้ไหมว่าจะจัดงานช่วงไหน เป็นต้น

อันนี้เกี่ยวด้วยเหรอ เกี่ยวครับ แม้ว่าสินค้าเราจะประกันศูนย์จริง แต่อย่าลืมว่าคนที่ให้บริการเราเป็นด่านแรกคือร้านค้าปลีก ควรดูนโยบายในการดูแลลูกค้าของทางร้านค้าเลยว่า เทคแคร์ลูกค้าแบบไหน แล้วจะรู้เรื่องพวกนี้ได้ยังไงล่ะ เอาง่าย ๆ ลองดูหน้า Facebook ของเพจที่ให้บริการเลยว่า ตอบคำถามลูกค้าไหม เทคแคร์ลูกค้าดีไหม เวลาโทรไปที่สาขา เขาใส่ใจในการให้คำปรึกษาเราหรือเปล่า หรือลองไปเดินสอบถามรายละเอียดกล้องที่ร้านได้ครับ แล้วดูว่าเขามีการดูแลเรายังไง

ทำไมต้องใส่ใจเรื่องแบบนี้ เพราะว่าเราเป็นลูกค้าครับ เวลาที่บริการอะไรก็ตามที่เป็นการบริการพื้นฐานถ้าหากว่าเขาบริการไม่ดี ตอนที่กล้องเรามีปัญหาจริง ๆ ลองนึกดูว่าการให้บริการจะเป็นยังไง ดังนั้นการที่เราได้ร้านค้าที่ดีมาเป็นที่ปรึกษาเราเวลาซื้อของ หรือสอบถามโปรโมชั่น การติดตามการแจ้งซ่อม สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสบายในการใช้งานกล้องไปจนถึงช่วงที่หลังซื้อไปแล้วนั่นเองครับ

– รวมทุกอย่างที่ต้องรู้ พื้นฐานการวัดแสง สำหรับมือใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ

– การตั้งค่ากล้องสำหรับถ่ายภาพบุคคล

– รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับรูรับแสงสำหรับมือใหม่

– รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ISO สำหรับมือใหม่ และการใช้งานที่ถูกต้อง

– วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ และการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป