การถ่ายภาพความเร็วสูง ฉบับพื้นฐาน ภาคแรก
ผมไปเจอเทคนิคการถ่ายภาพที่เรียกว่า high-speed photography (โดย Ramakant Sharda )จะแปลเป็นไทยก็การถ่ายภาพความเร็วสูง มันอาจฟังดูตลกๆหน่อย แต่หาคำที่เหมาะกว่านี้ไม่ได้เลยขอใช้คำนี้ในบทความนี้นะครับ การถ่ายภาพด้วยความเร็วสูงนั้นเป็นการจับภาพสิ่งที่เกิดขึ้นเร็วมากเกิดกว่าตาเปล่าเราเห็นเช่นลูกโป่งระเบิด หรือน้ำกระจาย
การถ่ายภาพพวกนี้ต่างจากการถ่ายแบบอื่นเพราะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเกือบๆ 1/20,000 วินาที เพื่อจับจังหวะนั้น ซึ่งกล้อง DSLR ทั่วไปไม่สามารถถ่ายได้เร็วขนาดนั้น แล้วเราต้องทำอย่างไร?
มาดูกันดีกว่าว่าเราต้องใช้กล้องอะไร ข่าวดีก็คือไม่ว่ากล้อง DSLR รุ่นไหนก็ถ่ายได้ ถ้ามีกล้องแบบอื่นที่ถ่าย manual ได้ก็สามารถถ่ายได้เช่นกัน ส่วนเลนส์ในบทความนี้ใช้ 100mm มาโคร สำหรับถ่ายระยะใกล้เพื่อให้เห็นโครงสร้างของของเหลว และใช้ 24-70 mm สำหรับถ่ายลูกโป่ง
เลนส์ไม่ได้เจาะจงอะไรมากของให้ระยะห่างกล้องกับวัตถุมากพอที่จะทำให้กล้องปลอดภัยจากการเคลื่อนไหวของ subject
และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือแฟลช และต้องใช้เยอะด้วย บางภาพต้องใช้แฟลชถึง 4 ตัว นอกจากนี้ยังมีขาตั้ง และรีโมทชัตเตอร์
นอกจากอุปกรณ์แล้วสิ่งที่ต้องมีคือการฝึกฝนและความอดทนอย่างมาก บางครั้งถ่ายเป็นร้อยภาพ แต่ไม่มีภาพไหนดีเลยก็มี จนคุณอาจคิดว่ามันไม่ใช่ทาง แต่อย่างเพิ่งยอมแพ้ การฝึกฝนและอดทนจะช่วยได้ภาพเหล่านี้ได้
ผมเคยถ่ายหยดน้ำอยู่ 3 เดือน ถ่ายกว่า 3,000 ภาพกว่าจะได้ภาพที่เป๊ะถูกใจ จนค้นพ้บวิธีที่ง่ายขึ้น และจะมาแบ่งปันในบทความนี้
คุณอาจต้องการผู้ช่วยเพราะมันต้องทำหลายสิ่งในเวลาเดียวกัน คุณไม่สามารถทำทุกสิ่งได้ด้วยตัวคนเดียว และมันน่าเบื่อมากที่จะต้องมาทำความสะอาดคนเดียว สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด คุณอาจต้องหาไอเดียสร้างสรรค์ต่างๆ เช่น การถ่ายสีเต้นระบำ ต้องใช้จานสบู่,ท่อพลาสติก, หมวกว่ายน้ำสีดำ, ตีนตุ๊กแก และติดไว้กับช่องระบายอากาศที่ลำโพง
และผมก็พบว่ามันง่ายกว่าหากเรายิงแฟลช แทนที่จะกดชัตเตอร์เพื่อเก็บภาพจังหวะดีๆ
ก่อนที่เรามาพูดเรื่องการตั้งค่ากล้อง ผมจะมาบอกความจริงที่น่าตกใจ พร้อมหรือยัง? จริงๆแล้ว ความเร็วชัตเตอร์ไม่มีผลกับการถ่ายภาพความเร็วสูง และในภาพด้านล่างนี้ใช้ความเร็วชัตเตอร์แค่ 1/10 วินาที
เราจะถ่ายกันในห้องมืดๆ และตั้งรูรับแสงแคบ และเปิดโหมด Bulb เมื่อเราเปิดชัตเตอร์ค้างไว้แล้ว ก็ยิงแฟลชในจังหวะที่เหมาะสม (subject น่าสนใจ) ความเร็วชัตเตอร์อาจเป็น 1/10 หรือ 1/250 วินาที ก็ได้หมด ขอแค่ถ่ายติดในช่วงที่แฟลชยิง
Post a Comment