14 วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอมือใหม่ เพื่อทำ Vlog ลง YouTube, Facebook Channel

14 วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ เพื่อทำ Vlog ลง YouTube, Facebook หรือ Channel ของตัวเองเรื่องที่หลาย ๆ คนอยากจะกระโดดมาทำ Channel ของตัวเองสิ่งที่พลาดไม่ได้กันเลยก็คือเรื่องของกล้องและการตั้งค่ากล้องเพื่อถ่ายวีดีโอหลัก

ซึ่งมือใหม่ระดับเริ่มต้นอาจจะยังไม่รู้ว่าควรจะตั้งค่ากล้องยังไงเพื่อให้สามารถที่จะถ่ายวีดีโอได้ง่าย ๆ แม้ว่าจะเป็นคนที่ไม่มีพื้นฐานมาเลยก็สามารถใช้งานได้อย่างเข้าใจ ในวันนีก็เลยได้รวม 14 หัวข้อเรื่องการตั้งค่ากล้องระดับพื้นฐานมาให้ครับ

14 วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ เพื่อทำ Vlog ลง YouTube, Facebook หรือ Channel ของตัวเอง

สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ

กล้องส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะสามารถบันทึกไฟล์วีดีโอแบบ 4K ได้แล้ว ซึ่งปกติแล้วผมจะแนะนำให้ถ่ายวีดีโอแบบ 4K ครับ เหตุผลก็เพราะว่าวีดีโอแบบ 4K นั้น จะช่วยให้เราได้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ และสามารถนำไฟล์ไป Crop เพื่อเจาะรายละเอียดเฉพาะส่วนแล้วยังได้รายละเอียดที่ชัดเจน

แต่ในกรณีที่ถ่าย Slow Motion หรือ Framerate สูง ๆ ในการนำไฟล์มาดึงให้วีดีโอช้าลง กล้องบางรุ่นอาจจะต้องใช้ไฟล์ที่มีขนาดเล็กลงมา อันนี้ก็ต้องเลือกตามการตั้งค่าที่มีดูครับ

เฟรมเรตเป็นเรื่องของความต่อเนื่องภาพที่มีในหนึ่งวินาที ซึ่งปกติการถ่ายวีดีโอแบบทั่วไปที่เราเห็นในภาพยนตร์ จะใช้ที่ 24p แต่สำหรับปัจจุบันในการทำ Channel ของตัวเองก็จะมี 30p, 60p อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบนะ แต่ส่วนใหญ่ผมแนะนำให้ถ่าย 24p หรือ 30p ครับ ส่วน 60p, 120p, 240p ผมใช้ในการถ่าย slow motion มากกว่า (คือถ่ายวีดีโอแบบเฟรมเรตสูงแล้วนำมาดึง slow motion อีกที)

ความเร็วชัตเตอร์ก็ง่าย ๆ เลย คือ เมื่อความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น การเก็บภาพในเฟรมนั้นก็จะสามารถจับภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวรวดเร็วได้นิ่ง แต่ถ้าความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็จะเกิดการเบลอเมื่อถ่ายวัตถุนั้นเวลาเคลื่อนไหว ทีนี้มันเกี่ยวอะไรกับการถ่ายวีดีโอล่ะ!? เงื่อนไขในการใช้ความเร็วชัตเตอร์สำหรับการถ่ายวีดีโอ จะสัมพันธ์กับ Frame Rate ที่เราเลือกครับ เช่น เราเลือก Frame Rate ที่ 24p ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/48 วินาที (ใกล้เคียงคือ 1/50 ครับ)

ถ้าเราเลือกเฟรมเรตที่ 30p ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 วินาที ถ้าเราเลือกเฟรมเรตที่ 60p ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/120 วินาที ถ้าเราเลือกเฟรมเรตที่ 120p ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/240 วินาที (ในกล้องเราจะเป็น 1/250 ที่ใกล้เคียงที่สุดครับ)

เหตุผลที่ต้องเลือกความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับเฟรมเรต ก็เพื่อเวลาที่กล้องเก็บการเคลื่อนไหวในแต่ละเฟรมกลับมา จะให้ความต่อเนื่องของภาพที่สมูธกว่าครับ (อันนี้ภาษาพูดนะ ไม่ใช่ภาษาแนววิชาการหรือทฤษฏี) ซึ่งถ้าหากว่าเราปรับค่าที่สูงกว่านี้เช่น เลือกเฟรมเรตที่ 30p แต่เลือกความเร็วชัตเตอร์ 1/500 ไปเลย จะเกิดเอฟเฟกต์ในภาพโดยตรง คือการเคลื่อนไหวมันจะดูแข็ง ๆ ไม่ต่อเนื่องครับ ดูตัวอย่างด้านล่างได้เลย

การตั้งค่ารูรับแสงในการถ่ายวีดีโอก็เหมือนกับการถ่ายภาพนิ่ง ก็คือเมื่อรูรับแสงกว้างขึ้นก็สามารถรับแสงได้มากขึ้น และละลายหลังได้มากขึ้น แต่สิ่งที่ถูกเพิ่มเติมขึ้นมาก็คือความเร็วชัตเตอร์ของการถ่ายวีดีโอเราจะตั้งไว้ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นเมื่อเปิดรูรับแสงกว้างมาก ๆ จะทำให้แสง Over Exposure หรือแสงล้นเกินแน่นอน ซึ่งวิธีแก้สามารถใช้ ND Filter สำหรับลดปริมาณแสงลงครับ

นอกจากนี้รูรับแสงที่กว้างมาก ๆ การละลายหลังก็จะละลายได้เยอะมากเหมือนกัน ซึ่งการถ่ายวีดีโอนั้นก็ต้องดูด้วยว่าการละลายหลังทำให้การนำเสนอวีดีโอของเราขาดเรื่องราวและอารมณ์ที่สำคัญไปไหม (ระวังอย่าละลายหลังจนเยอะเกินไปก็พอครับ)

หลักการตั้งค่า ISO สำหรับการถ่ายวีดีโอนั้นก็ยังคงพื้นฐานที่เหมือนกับการถ่ายภาพนิ่งคือ เมื่อ ISO สูงขึ้น กล้องก็จะไวกับการรับแสงมากขึ้น ซึ่งช่วยได้ดีในที่แสงน้อยทำให้ได้ภาพสว่างขึ้น แต่ Noise ก็จะตามมาเหมือนกัน ดังนั้นการถ่ายวีดีโอเราก็ต้องดูว่ากล้องของเราให้ไฟล์ที่รับได้ที่ ISO เท่าไหร่ แล้วพยายามใช้ไม่เกินที่กำหนดครับ (อันนี้อยู่ที่แต่ละคนนะว่ารับได้เท่าไหร่ ของผมรับได้สูงสุดประมาณที่ 3200 ครับ เพราะไม่อยากให้ Noise เยอะ)

นอกจากนี้มีเรื่องของ Auto ISO Sensitivity ด้วยครับ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถที่จะปล่อยให้กล้องเลือก ISO ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ได้เอง ทำให้เราไม่ต้องมานั่งปรับบ่อย ๆ แต่เราต้องกำหนด ISO สูงสุดเอาไว้ เพื่อไม่ให้กล้องเพิ่มค่า ISO สูงจนเยอะเกินไปครับ

บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่

• 14 การตั้งค่ากล้องพื้นฐานสำหรับมือใหม่ เพื่อทำ VLOG ลง YOUTUBE CHANNEL ของตัวเอง

• 5 เรื่องที่มือใหม่หัด VLOG ควรทำการบ้านและเรียนรู้ ก่อนเริ่มต้นถ่ายวีดีโอ

บิตเรตตรงนี้ก็จะเหมือนกับขนาดของข้อมูลที่บันทึกในหนึ่งวินาที ซึ่งจะนับเป็น Mbps ครับ (เมกกะบิตต่อวินาที) ซึ่งบิตเรตยิ่งเยอะ ไฟล์ก็จะยิ่งใหญ่ขึ้น แต่ก็ได้ความละเอียดมากขึ้น อันนี้แล้วแต่เราชอบเลยว่าจะบันทึกเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการทำงานของเราว่าอยากได้ไฟล์ขนาดแบบไหนมาใช้นะครับ เพราะยิ่งเยอะก็ยิ่งดีตามขนาดไฟล์

ดังนั้นถ้าหากว่ากล้องของใครสามารถที่จะบันทึกได้ที่บิตเรตสูง ๆ ก็จะได้ไฟล์ละเอียดมากตามไปด้วย แต่อย่าลืมคำนวณเรื่องของพื้นที่ใน Memory Card ด้วยนะ เพราะบิตเรตที่สูงมาก ๆ ก็กินพื้นที่เยอะเหมือนกัน นอกจากนี้ความเร็วของการ์ดก็ต้องสูงด้วย ไม่งั้นวีดีโอที่บันทึกมาจะกระตุกเพราะการ์ดไม่สามารถบันทึกข้อมูลเข้าไปได้ทันนั่นเองครับ

หลักการทำงานของโหมดในการถ่ายวีดีโอก็เหมือนโหมดภาพนิ่งเลยครับ ก็จะมีโหมดหลักคือ P – Program Auto, A – Aperture Priority, S – Shutter Priority, M – Manual โดยแต่ละโหมดมีการคำนวณแบบนี้นะครับ

P คือโหมด Program คือจะคล้าย ๆ กับ Auto ครับ แต่กล้องเลือกให้เราปรับค่าบางอย่างได้เอง อย่าง Picture Style อะไรแบบนั้น (อันนี้เหมาะกับมือใหม่นะครับ แต่ก็ไม่แนะนำสำหรับคนที่ตั้งใจอยากจะถ่ายวีดีโอ)

A คือโหมด Aperture Priority ครับ คือให้รูรับแสงเป็นค่าที่เราเลือก ที่เหลือกล้องจะปรับค่าต่าง ๆ ให้ ตั้งแต่ Speed Shutter, ISO ซึ่งโหมดนี้ผมไม่ค่อยแนะนำ เพราะว่ากล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์เอง

S คือโหมด Shutter Priority โหมดนี้เราจะสามารถคุมความเร็วชัตเตอร์ได้ ซึ่งเหมาะกับการถ่ายวีดีโอประมาณนึง โดยกล้องจะคอยปรับรูรับแสงให้เรา ข้อดีคือเราจะได้เอฟเฟกต์ของความเร็วชัตเตอร์ที่คงที่

แต่ก็มีข้อระวังครับ กรณีที่แสงมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง กล้องจะทำการปรับรูรับแสงให้ทันที สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างถ่ายคือจะเกิดการกระพริบของภาพเหมือนแสงตกลงบ้าง สว่างขึ้นบ้าง ชในเฟรมที่เกิดจากการปรับรูรับแสงในตอนนั้นครับ ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดขึ้นแบบนั้นแน่ ๆ

M คือโหมด Manual ผมแนะนำโหมดนี้ที่สุดครับ เพราะค่าทุกอย่างเราจะต้องตั้งเองเพื่อควบคุมการทำงานของกล้องครับ ตั้งแต่รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO สิ่งที่ยากในโหมดนี้คือ เราต้องรู้ครับว่าเราจะถ่ายอะไร และควรใช้ค่าประมาณไหน เช่น ผมรู้แล้วว่าจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 รูรับแสงที่ F8 ที่เหลือปรับ ISO Auto ทีนี้ผมก็จะถ่ายวีดีโอได้ต่อเนื่องแบบไม่ต้องคิดว่ากล้องจะปรับค่าอะไรที่แปลกออกไป

โหมดวัดแสงของการถ่ายวีดีโออันนี้ผมจะแนะนำให้เลือกวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ จะเข้าใจง่ายสำหรับมือใหม่ครับ เพราะว่าใช้แสงทั้งภาพเป็นตัวคำนวณว่าสภาพแสงเป็นยังไง ซึ่งน่าจะเข้าใจได้ง่ายสำหรับมือใหม่

• 7 เทคนิคพื้นฐานเรื่องแสงในการถ่ายภาพ และความเข้าใจในการนำมาใช้

• พื้นฐานเรื่องแสง และทุกอย่างที่ควรรู้เกี่ยวกับแสงสำหรับมือใหม่

ระบบโฟกัสของการถ่ายวีดีโอผมยกตัวอย่างกล้องผมคือ Panasonic Lumix GH5 ครับ ผมจะเลือกการโฟกัสแบบ AF-C (ทุกกล้องน่าจะมีเหมือนกันหมด) คือการโฟกัสแบบต่อเนื่อง และเลือกจุดโฟกัสเป็นแบบ Area ครับ ทำให้กล้องสามารถที่จะโฟกัสอัตโนมัติเมื่อมีอะไรวิ่งเข้ามาที่บริเวณจุดโฟกัสของเราครับ การตั้งแบบนี้เหมาะกับทั้งถ่าย Vlog, ถ่ายทั่วไปได้สบาย ๆ

ในการตั้งถ่ายวีดีโอผมแนะนำสั่งปิดการแสดงผลหน้าจอ EVF แล้วให้กล้องมาแสดงผลแค่ LCD แทนครับ เพราะเวลาที่เราเปิดการทำงานทั้ง EVF และ LCD เวลาเราถือกล้องบางทีแขนไปโดนเซ็นเซอร์ของ EVF ทำให้หน้าจอ LCD ปิดภาพเพื่อไปเปิดสลับกับ EVF แทน จะทำให้เราเสียสมาธิในการถ่ายวีดีโอครับ

การแสดงผลของ Monitor Information ของผมจะเลือกให้กล้องแสดง Histogram เพื่อใช้ดูกราฟแสงคร่าว ๆ แล้วก็เปิดให้กล้องแสดงระดับน้ำ เพื่อให้รู้ว่าตอนนี้ที่เราถืออยู่กล้องเอียงหรือเปล่า ส่วนเรื่อง Setting ต่าง ๆ ผมให้กล้องแสดงทั้งหมดทั้งรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ความละเอียดต่าง ๆ ที่ตั้งเอาไว้ เพื่อไม่ให้การตั้งค่าของเราผิดพลาดจากที่คิดไว้ครับ ส่วนวิธีตั้งค่าของแต่ละกล้องต้องลองหาเพิ่มเติมนะครับ

Step 12. การตั้งค่าระบบกันสั่นในกล้องและเลนส์สำหรับมือใหม่

สุดท้ายแล้วคือผมจะเปิดระบบกันสั่นทั้งในตัวกล้องและเลนส์เพื่อให้กล้องสามารถที่จะช่วยเราในการถ่ายวีดีโอ ไม่ให้เกิดการสั่นไหว อย่าง GH5 ของผมแทบไม่ต้องใช้ Gimbal เลย เวลาที่ถ่ายด้วย Hand Held แต่ต้องเปิดกันสั่นในกล้องและเลนส์ไว้นะ ที่เหลือสบายมาก

โดยส่วนใหญ่ผมจะตั้งค่า White Balance ไว้แบบ Auto เพื่อความง่ายในการถ่ายวีดีโอ (อันนี้สำหรับมือใหม่ที่เน้นความเรียบง่าย) เว้นแต่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามเราเจอแสงไฟในบางสถานที่, เช่น ร้านอาหาร แล้วเราอยากได้แสงที่ตรงกับใจเรา ก็สามารถเลือก White Balance ตามใจเราได้ (คือเลือกแบบ Custom เอง) แต่ต้องระวังด้วยว่าถ้าเดินถ่ายวีดีโอไปมา มีการเดินสลับที่บ่อย ๆ แล้วสภาพแสงเปลี่ยน อันนี้ต้องมาดูหน้างานอีกทีนึง อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ Auto แทนครับ

สำหรับคนที่ต้องการถ่ายแล้วเอามา Grading สีแบบเป๊ะ ๆ ก็ควรเลือก Manual (แต่ก็หมายความว่าคุณก็ต้องเข้าใจทุกกระบวนการทั้งหมดก่อนค่อยมาตรงนี้)

ถ้าหากว่าเราอยากจะได้ไฟล์ไปทำสีต่อหรืออยากได้ข้อมูลที่ Dynamic ที่เยอะหน่อย ก็แนะนำให้ถ่ายเป็น S-Log ครับ สีจะดูจืด ๆ แต่เวลาเอาไป ​Grading แล้วก็จะได้สีสันที่ดีขึ้น

แต่บ่อยครั้งที่ผมก็ไม่ได้ใช้ S-Log นะ เพราะไม่อยากเสียเวลาทำสี ก็เลือกเป็น ​Picture Style อื่นที่เราโอเคกับสีที่ได้ อันนี้ก็แล้วแต่ว่าเราสะดวกวิธีไหนครับ